สวัสดีครับ วันนี้ผมจะนำเสนอต่อในเรื่องของเกณฑ์ประเมินการบริหารความเสี่ยงของรัฐวิสาหกิจ ปี 2553 ให้จบ หลังจากที่ได้นำเสนอมาหลายตอนเนิ่นนานแล้ว และผมจะได้ต่อในเรื่องของเกณฑ์การประเมินการบริหารจัดการสารสนเทศ (IT) ปี 2553 ซึ่งตั้งใจไว้ว่าจะนำเสนอให้ทันภายในปีนี้ เพื่อที่ รส. และหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล จะได้เตรียมความพร้อมรับการประเมิน ประจำปี 2553 กัน ฉะนั้น เราไปต่อในส่วนที่เหลือกันเลยดีกว่าครับ
6. กระบวนการบริหารความเสี่ยงเป็นกิจกรรมประจำวันของทุกหน่วยงาน และเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการพิจารณาผลตอบแทน และ/หรือความดีความชอบ
6.1แผนงานในการบริหารความเสี่ยง มีความสอดคล้องกับ Performance Evaluation ขององค์กร
6.2 มีแผนงานในการประเมินผลการดำเนินงานของแต่ละบุคคล หรือสายงานในองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารความเสี่ยง โดยมีประเด็นในการประเมิน เช่น ความรับผิดชอบและการสนับสนุนกระบวนการบริหารความเสี่ยง และกรอบการบริหารความเสี่ยงที่แต่ละบุคคล หรือสายงานมีต่อองค์กร และการวัดระดับของความเสี่ยงที่บุคคล หรือสายงานนั้นเป็นผู้รับผิดชอบว่า ความเสี่ยงได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิผลเพียงใด
6.3 มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกันในแต่ละหน่วยงาน เพื่อนำไปสู่การบริหารความเสี่ยงขององค์กรโดยรวม และมีการติดตามประเมินผลงานอย่างต่อเนื่อง
7. มีการบริหารความเสี่ยงและมีการสนับสนุนการบริหารฯ เพื่อสร้างสรรค์มูลค่าให้กับองค์กร (Value Creation) ซึ่งมูลค่า (Value) ขององค์กรอาจพิจารณาได้จาก Value ที่รัฐวิสาหกิจระบุไว้
7.1 องค์กรมีการบริหารความเสี่ยงของการสูญเสีย “โอกาสของธุรกิจ” การที่องค์กรสามารถพลิกผันเหตุการณ์/วิกฤติให้เป็นโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งส่งผลให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยที่ “โอกาสของธุรกิจ” อาจพิจารณาจากการวิเคราะห์ “SWOT” ขององค์กร
7.2 การที่องค์กรมีการบริหารความเสี่ยง เพื่อสร้างความมั่นใจถึงการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ซึ่งจะส่งเสริมพัฒนาทักษะ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากร รวมถึงการส่งเสริมและสร้างบรรยากาศ เพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ขององค์กรเช่นเดียวกัน
8. ผลการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจริง
8.1 การดำเนินกิจกรรมตามแผนบริหารความเสี่ยง
8.2 ระดับความเสี่ยงที่ลดลง โดยพิจารณาจากความเสี่ยงหลักขององค์กร โดยพิจารณาเฉพาะความเสี่ยงที่มีระดับความเสียหายอยู่ในช่วงปานกลาง ถึง สูงมาก (ระดับความเสียหาย = ระดับของความรุนแรง x โอกาสของการเกิดความเสี่ยง)
แต่อย่างไรก็ตาม ระดับความเสี่ยงที่ลดลง จะต้องครอบคลุมความเสี่ยงที่สามารถระบุได้ว่าเป็น Strategic Risk /Operational Risk/ Financial Risk และ Compliance Risk (S-O-F-C)
8.3 ในกรณีที่มี Risk Appetite รายปัจจัยเสี่ยง ที่ระบุเป้าหมายเชิงปริมาณในปี 2552 รัฐวิสาหกิจต้องสามารถดำเนินการบริหารความเสี่ยงดังกล่าว แล้วมีผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมายของ Risk Appetite /ดีกว่าเป้าหมายของ Risk Appetite ที่กำหนด