Archive for สิงหาคม, 2016

ความเชื่อ กับ การพัฒนาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน / Trust and Sustainable Development ตอนที่ 2

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับการพัฒนาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

หากประเทศไทยของเรา องค์กรของเรา ครอบครัวของเรา พ่อแม่ของเรา และ ตัวของเราเอง อาจขาดทัศนคติ ขาดวิสัยทัศน์ ขาดการเปิดใจ หรือเป็นคนช่างสังเกต ช่างคิด ช่างวิเคราะห์ถึงสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไปอย่างมากมาย ในยุคดิจิตอลปัจจุบัน ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อการพัฒนาของประเทศต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันมาก สำหรับประเทศตะวันตกหรือประเทศในสหรัฐอเมริการกับประเทศต่างๆ ในตะวันออก เอเชีย และอาฟริกา ว่าทำไมระดับความเจริญ ระดับการพัฒนา ที่สะท้อนถึงความก้าวหน้าในมิติต่างๆ ของการพัฒนาบ้านเมืองในประเทศของเขา การพัฒนาคนของเขา ที่ส่วนใหญ่มาจากการพัฒนาทางความคิด ในเชิงวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ และมีการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ทั้งในเชิงการผลิตสินค้า และบริการ เชิงการบริหารการจัดการที่ดี เชิงการวิเคราะห์ความเสี่ยง เชิงการวิเคราะห์การควบคุม และมิติอืนๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา เพื่อประโยชน์ในการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับคนในประเทศของเขา รวมทั้งการเรียนการสอน และการสื่อสารที่เชื่อมโยงและมีความคิดตั้งแต่การพัฒนาในวัยเด็ก ให้รู้จักคิด รู้จักถาม รู้จักสังเกตสิ่งแวดล้อม การสร้างวินัย การอบรมบ่มนิสัยเด็กๆ ไปจนเติบโตไปถึงผู้ใหญ่ และก้าวไปสุ่วัยการทำงาน ก็มีกาาสื่อสารในการปรับปรุงต่างๆ ให้เหมาะสม มีการพัฒนากระบวนความคิด กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่ผสมผสานกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ การสร้างงานใหม่ๅ การสร้างบริการใหม่ๆ และการสร้างโอกาสใหม่ๆ เพื่อให้ได้เปรียบในเชิงการแข่งขันระหว่างคนในประเทศ และระหว่างประเทศ ซึ่งจะตามมาด้วยโอกาสในการสร้างงานใหม่ๆ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนลีใหม่ๆ เพื่อการสร้างอนาคต และสร้างตำแหน่งงาน ให้กับคนในประเทศองเขาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่เกิดจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสะท้อนมายังการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และวัดความก้าวหน้าและผลสำเร็จกันได้ด้วยรายได้ หรือผลิตภัณฑ์ต่อหัวที่แสดงถึงความสามารถของประเทศโดยรวม เพื่อแสดงถึงการพัฒนาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

ตามที่ผมกล่าวข้างต้นนั้น ท่านเชื่อไหมครับว่า ประเทศที่มีวิสัยทัศน์ดังกล่าวข้างต้น สามารถรักษาการพัฒนาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคตได้อีกยาวไกล หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงจุดยืนของประเทศที่ถ่ายทอดลงมาตามลำดับ ด้วยวิธีการสื่อสารที่ทันสมัยและเหมาะสม อย่างทั่วถึงไปยังประชาชนทุกวัยของเขา

โปเกม่อน โก กับการสร้างคุณค่าเพิ่มจากเกมยุคดิจิตอล

ก่อนที่เกมส์นี้จะมาถึงประเทศไทยในวันที่ 6 สิงหาคม 2559 นั้น เราส่วนใหญ่ก็ได้เห็นความดังของโปรแกรมเกมส์นี้ ผ่านจอทีวี ที่เผยแพร่ด้วยภาพแสดงความตื่นเต้นของประชาชนในประเทศต่างๆ ที่ได้เล่นเกมส์แสนสนุกและท้าทายมากของเกมส์นี้ และผู้พัฒนาโปรแกรมเกมส์โปเกม่อน โก สามารถทำรายได้อย่างมหาศาล เพียงการเปิดตัวไม่กี่สัปดาห์ ทั้งๆ ที่เป็นเพียงเกมส์ออนไลน์เกมส์หนึ่ง แต่อาศัยความรู้ความเข้าใจที่ผสมผสาน และสร้างจินตนาการของเกมส์นี้ให้สนุกโดยผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการใช้บอร์ดแบรนด์ 4G++ หรือ wifi ที่มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลมากพอที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบ GPS ในการจับสถานที่ต่างๆ เพื่อการเล่นเกมส์นี้ได้ทั่วแห่งทั่วโลก แม้กระทั่งในบ้านของเราเอง และเกมส์นี้เป็นเกมส์เสมือนจริง / Virtual โดยใช้ศักยภาพทางด้านเทคโนโลยี GPS ของ Google กับผู้พัฒนาโปรแกรมเกมส์ Pokemon Go ของ Nintendo ซึ่งผมเองได้ทดลองเล่นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ที่หัวหิน และกลับมาเล่นต่อที่บ้าน เพื่อศึกษาว่าทำไมเกมส์นี้จึงเป็นที่นิยมกันแพร่หลายทั่วโลกอย่างน่าแปลกใจ ซึ่งสังเกตจากความสนใจจากผู้คนในประเทศฝรั่งเศส ประเทศออสเตรเลีย ประเทศอเมริกา และอีกหลายประเทศทั่วโลกที่มีการเปิดบริการเกมส์นี้ให้เล่นแล้ว

ความสนุกของโปรแกรมเกมส์นี้ เท่าที่ผมได้ทดลองเล่นก็คือ ผมสามารถจับตัวโปเกม่อนได้ง่ายๆ ที่บ้านผมเอง โดยตัวการ์ตูนได้แสดงเป็นภาพเสมือนตัวผมเองที่อยู่ในซอยบ้านผมที่ปรากฎในแผนที่จริงตาม GPS ที่แสดงตำแหน่งที่ผมอยู่ รวมทั้งสภาพแวดล้อมในแถบบริเวณบ้านผม ซึ่งผมตื่นเต้นตั้งแต่วินาทีแรกที่ผมเห็นภาพเสมือนจริงเหมือนสภาพแวดล้อมที่ผมคุ้นเคย และแปลกใจว่าผู้พัฒนาโปรแกรมเกมส์นี้ทำได้อย่างไร ความสนุกอยู่ที่ผมต้องติดตามอ่านคำสั่งที่มีขั้นตอนที่ชัดเจนเป็นภาษาอังกฤษ ให้หาตัวโปเกม่อน ที่อยู่ในบ้านผม และใกล้กับผมเอง ซึ่งในที่สุดผมก็หาจนเจอโดยใช้เวลาไม่มากนัก ตอนนี้เป็นตอนที่ได้ความสนุกมากที่สุด ซึ่งเป็นความฉลาดของผู้พัฒนาโปรแกรมเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้ที่เล่นใหม่ทุกคน สามารถจับโปเกม่อนที่อยู่ใกล้ตัวได้ในเวลาไม่นาน และก็สามารถเก็บตัวโปเกม่อนไว้ในลูกบอลได้ ขั้นตอนต่อไปของเกมส์นี้ก็คือ สั่งว่าให้ไปหาตัวโปเกม่อนที่เสาไฟฟ้าข้างบ้าน ผมจึงต้องลงจากบ้านที่อยู่ชั้นสอง ลงไปชั้นล่างที่ใกล้กับเสาไฟฟ้า และในที่สุดพบก็พบโปเกม่อนตัวที่ 2 ตามที่โปรแกรมบอกมา ตัวที่ 2 นี้ เริ่มต้องใช้ความพยายามมากขึ้น โดยเคลื่อนตัวเองให้ออกจากบ้านมาหาโปเกม่อนใกล้ๆ บ้าน เป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่งในเบื้องต้น ที่สามารถทำให้ภรรยาผม ซึ่งคอยจ้องดูการกระทำของผมนึกสนุกไปด้วย หากผมยังมีลูกเล็กๆ ลูกคงตามผมลงไปจับโปเกม่อนตัวที่ 2 ด้วยแน่ๆ ความสนุกสนาน ความใกล้ชิดก็จะเกิดขึ้นระหว่างบุคคลในครอบครัวมากขึ้น และมีการเรียนรู้ด้วยกัน จากคำสั่งที่มาเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเราสามารถที่จะสื่อสารกับคนในครอบครัวได้ เป็นการเรียนรู้จากของจริงโดยไม่เบื่อหน่ายเลย

จากนั้นโปรแกรมก็จะสั่งต่อให้ไปหาโปเกม่อนตัวที่ 3 ซึ่งอาจจะอยู่ใกล้บ้าน หรือต้องเดินมากขึ้น หรือบางท่านที่เล่นอาจจะพบโปเกม่อนตัวที่ 3 ในบ้านอีก เช่น ศาลพระภูมิ ซึ่งในเมืองไทยจะผูกตัวโปเกม่อนให้เข้ากับวัฒนธรรม และความเชื่อ ในสถานที่ต่างๆ และขั้นตอนต่อไปก็จะออกไปไกลยิ่งขึ้น อย่างเช่น ลูกของผมไปจับโปเกม่อนที่สวนพฤกษชาติใกล้บ้าน ซึ่งผู้คนที่อยู่ในสวนนี้ต่างเล่นโปเกม่อน โก กันอย่างสนุกสนาน ทำให้รู้จักกับผู้คนที่เข้ามาใช้บริการในส่วนนี้อย่างสนิทสนมและเป็นกันเอง โดยไม่เขอะเขิน ซึ่งแตกต่างจากการไปออกกำลังกายของผมและลูกๆ ที่เคยไปออกกำลังกายในสถานที่แห่งนี้ในอดีต ที่ส่วนใหญ่จะคุยกับบุคคลในครอบครัวเท่านั้น แนวคิดนี้ จึงเป็นการสร้างมิตรภาพ ความรักความสมานฉันท์ ของบุคคลในชุมชนอย่างนุ่มนวล ทำให้เรารู้จักทักทายกันมากขึ้น ง่ายขึ้น ยิ้มแย้มเข้าหากันอย่างสนิทใจ โดยมีเพียงโปรแกรม Pokemon Go นี้ เป็นเกมส์ในการสื่อสารที่แสนวิเศษ

นอกจากนี้ โปรแกรมเกมส์นี้ ท่านผู้อ่านที่ติดตามทางทีวี และผู้ที่เล่นเกมส์นี้มากกว่าผมคงจะได้รับประสบการณ์ในการหาตัวโปเกม่อนตัวต่อๆ ไป ในสถานที่อื่นๆ และในบางกรณี ต้องเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อจับตัวโปเกม่อนที่ถูกออกแบบไว้ให้มีเฉพาะภายในประเทศนั้น หรือสถานที่ที่กำหนดไว้เท่านั้น เมื่อเช้าวันอังคารที่ 9 สิงหาคม 2559 ผมดูทีวี มีภาพชายหนุ่มคนหนึ่งในประเทศอเมริกาที่จับตัวโปเกม่อนต่างสายพันธ์ุได้ 145 ตัว ครบกำหนดตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ และเขาได้ให้สัมภาษณ์ว่าจะยังคงติดตามเกมส์นี้ต่อไปเพราะสนุกมาก และเชื่อมั่นว่าผู้พัฒนาโปรแกรมเกมส์นี้จะมีเวอร์ชั่นใหม่ๆ ออกมาตามลำดับ และน่าสนใจยิ่งกว่านี้

Credit : www.engadget.com

การสร้างโอกาสทางธุรกิจจากบทเรียน Pokemon GO V.01

เท่าที่ผมเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังโดยย่อนั้น ท่านเห็นภาพและเกิดจินตนาการหรือความสงสัยประการใดบ้างหรือไม่ครับว่า ผู้พัฒนาโปรแกรมเกมส์นี้ มีความคิดอย่างไร และนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารยุคใหม่ มาประยุกต์ให้เข้ากับเกมส์ที่ดูเสมือนจริง และทำให้เกิดความสนุกสนาน รวมทั้งการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับบริษัทผู้พัฒนา และผู้มีผลประโยชน์ร่วมของกลุ่มผู้พัฒนา และต่อสังคมในประเทศของเขา และทั่วโลกได้อย่างไร ถึงแม้ว่า การจับตัวโปเกม่อนในช่วงต่อๆ ไป จะเป็นความท้าทายที่นอกเหนือจากการจับตัวโปเกม่อนที่บ้านง่ายๆ อาจต้องไปตามจับยังสถานที่อื่นๆ เช่น ที่สนามหลวง วัดพระแก้ว สวนหลวง ร.9 และสถานที่น่าสนใจต่างๆ ของประเทศไทย และทั่วประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่่ยว และบางครั้งต้องไปจับตัวโปเกม่อนในน้ำ หรืออาจจะเลยเถิดไปกว่านั้นก็คือต้องไปตามจับโปเกม่อนในสถานที่เป็นความลับของทางราชการ ก็จะเกิดทั้งความสนุกและความเสี่ยงของผู้เล่นกันไป จินตนาการแบบนี้เขาทำกันได้อย่างไร สร้างกันได้อย่างไร เช่น ตัวอย่างง่ายๆ อย่างที่ผมเล่าให้ฟังในวรรคก่อน ผมไม่เคยเล่นเกมส์ แต่เพียงแค่ดาวโหลดโปรแกรมมาจากระบบ Cloud ซึ่งระบบนี้สามารถใช้งานและสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และสามารถลดต้นทุนได้อย่างมหาศาล ถ้ารู้จักการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม อย่าลืมนะครับว่า การบริหารความเสี่ยงมี 2 มิติใหญ่ๆ ก็คือ ความเสี่ยงที่เป็นเชิงลบ ที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของประเทศ ขององค์กร ของสายงานต่างๆ ในองค์กร และผลกระทบเชิงลบต่อบุคคลากรในองค์กร หรือประเทศนั้น หรือแม้แต่ตัวเราเอง และความเสี่ยงในเชิงบวกที่สามารถสร้างคุณค่าเพิ่มได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น

ในกรณีความเสี่ยงเชิงลบที่มีผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ เช่น กรณีโปเกม่อน ที่ถูกผูกเข้าไว้ให้ไปหาในสถานที่ที่เป็นความลับทางทหาร ความลับของทางราชการ หรือตัวโปเกม่อนที่ไปอยู่บ้านคนอื่น หรือแม้กระทั่งอยู่ในน้ำ หากผู้เล่นมุ่งมั่นจะจับตัวโปเกม่อนให้ได้ แม้กระทั่งยามวิกาลโดยการบุกรุก อาจจะไม่ตั้งใจ เข้าไปในสถานที่ต้องห้ามอย่างไม่รู้ตัว ก็พิจารณาได้ว่า เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามหรือเป็นการกระทำที่มิชอบในการบุกรุกสถานที่ราชการ หรือสถานที่ที่เป็นความมั่นคงทางทหาร ก็อาจจะเกิดความเสียหายร้ายแรงถึงขึ้นเสียชีวิตได้ หรืออย่างน้อยอาจถูกจับได้ตามที่เป็นข่าวทางทีวี เป็นต้น ซึ่งกรณีนี้ ผู้พัฒนาโปรแกรมเกมส์โปเกม่อน ซึ่งเป็นผู้ผูกตัวโปเกม่อนไว้ในสถานที่ต่างๆ ทั้งในระบบเปิด เช่น ที่บ้านของเรา ที่บ้านของคุณ สถานที่ทำงานของคุณ สถานที่ทำงานของเรา เพื่อเป็นการสร้างความตื่นเต้นให้ผู้เล่นที่ดาวโหลดโปรแกรมนี้ได้พบกับตัวโปเกม่อนได้อย่างง่ายดาย กรณีเช่นนี้ ผมเรียกว่า เป็นการผูกตัวโปเกม่อนไว้กับระบบเปิด โดยมีวิธีการที่ผมเข้าใจว่า ผู้พัฒนาโปรแกรมได้ผูกระบบ GPS เข้ากับสมาร์ทโฟนของผู้เล่นเกมสนี้ในขณะนั้น ในเวลานั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ การ mapping ตัวโปเกม่อนเข้ากับตัวผู้เล่นที่เขาอยู่หรือใช้งานในตอนต้น ผู้เล่นก็สามารถจับตัวโปเกม่อนได้อย่างง่ายดายและน่าตื่นเต้นยิ่ง เป็นความสุขที่เกิดขึ้นทันทีที่เล่นเกมส์นี้

ในกรณีความเสี่ยงเชิงบวก ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ การสร้างคุณค่าเพิ่มจากโอกาสทางธุรกิจจากโปรแกรมเกมส์นี้ โดยประชาสัมพันธ์ให้ไปจับตัวโปเกม่อน ในสถานที่ที่เป็นร้านอาหาร หรือที่พัก เช่น ศาลาแม่ริม ที่เชียงใหม่ หรือสถานที่อื่นๆ เช่น สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ วัดวาอาราม โรงแรม เป็นต้น สามารถสร้างคุณค่าเพิ่มได้ โดยอาศัยแนวความคิดของผู้พัฒนาโปรแกรมเกมส์นี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจของตนเอง เช่น การผูกระบบ GPS กับสถานที่ที่เราต้องการสร้างคุณค่าเพิ่ม และประชาสัมพันธ์ว่ามีโปเกม่อนสายพันธุ์หายาก อยู่ในสถานที่นั้นๆ ก็จะเรียกความสนใจให้กับผู้เล่นเกมส์นี้ได้เป็นอย่างมาก ให้เข้ามาในสถานที่ที่เราประชาสัมพันธ์อย่างง่ายดายและต้นทุนต่ำ ยกตัวอย่างเช่น ตั้ง ศาลาแม่ริม เชียงใหม่ หรือที่สยามพารากอน เป็น Pokestop เพื่อเป็นจุดจับโปเกม่อนมากมาย หรือหลายสายพันธุ์ได้ ซึ่งจะเป็นจุดดึงดูดให้ผู้คนมาใช้หรือรับบริการมากขึ้น เป็นต้น

ท่านสามารถสร้างคุณค่าเพิ่มจากโปรแกรม Pokemon Go ได้หรือยังครับ

หากการเล่นสนุกตามเกมส์โปเกม่อน สามารถบันดาลใจให้ท่านเกิดความคิดเชิงบวก และเชิงลบที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว เพื่อให้เกิดเชิงบวกสุทธิ ในการสร้างคุณค่าเพิ่มกับธุรกิจของท่าน หรือตัวท่านเอง ผมเข้าใจในเบื้องต้นว่า เราลองศึกษาและผูกความเข้าใจใน Logic / ตรรกะ เชิงความคิดต่อยอดให้มากกว่าที่ผมอาจเข้าใจได้ไม่มากนัก ตามที่กล่าวข้างต้นได้ก็น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อการสร้างความเชื่อในมิติที่ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศก็คือทรัพย์สิน หรือ Asset ที่ทรงคุณค่ายิ่งในโลกดิจิตอลปัจจุบันนี้ครับ นี่คือการสร้างความเชื่อที่เป็นไปตามหลักการ และเป็นไปตามกรอบความคิดที่มีนิมิตร เชื่อมโยงนวัตกรรมที่เกิดจากความเข้าใจในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีความเกี่ยวพันกับธุรกิจที่สามารถสร้างคุณค่าเพิ่มในระดับประเทศและระดับองค์กร ระดับสายงาน และตัวเราเองได้ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่เติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร และประเทศชาติได้ในที่สุด ครับ

 
https://www.amazon.com/Bikeroo-Oversized-Comfort-Comfortable-Replacement/dp/B07B646ZZY/