ท่านผู้อ่านคงจะแปลกใจถึง หัวข้อของคำว่า ตา กับ ตีน ซึ่งเป็นบทกลอนที่ดีที่มีผู้แต่งขึ้น และผมขอนำมาอ้างถึงในครั้งนี้ เพื่อเป็นอุทธาหรณ์ของการบริหารและการจัดการแบบบูรณาการ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กรและประเทศชาติ ซึ่งเปรียบได้เสมือนหนึ่งร่างกายของมนุษย์ที่มีอวัยวะต่าง ๆ อันประกอบด้วย ตา กับ ตีน และอวัยวะอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ต่อมต่าง ๆ ไต ตับ หัวใจ หลอดเลือด สมอง ปอด ระบบประสาท กล้ามเนื้อ หู คอ จมูก ปาก ++ ประกอบกันเป็นร่างกายของมนุษย์ ที่อวัยวะทุกส่วนต่างก็ทำงานอย่างอิสระ แต่ต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดอย่างแนบแน่น และแยกกันไม่ได้กับอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เพื่อให้เกิดดุลยภาพที่ดี เพื่อให้เป็นบุคคลที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ที่ต้องทำงานแบบผสมผสานและแยกกันไม่ได้ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าอวัยวะทุกส่วนเป็น Interdependency
คำว่า Interdependency ได้ใช้เป็นหลักในการบริหารองค์กรในภาพรวมที่ทุกหน่วยงาน แม้จะทำงานเป็นอิสระ ภายใต้โครงสร้างขององค์กร แต่ก็ต้องมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิด และมีลักษณะเป็นหนึ่งเดียว เพื่อความแข็งแรงในการบริหารการจัดการ ซึ่งเปรียบได้เสมือนหนึ่งการบริหารประเทศ ที่ประกอบด้วยหลายหน่วยงาน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน ด้านความมั่นคง ด้านการบริหารการจัดการ หากเป็นภาพของรัฐ ก็น่าจะได้แก่ การบริหารผ่านกระบวนการทางรัฐสภา ทางศาล ทางการปกครอง ++ นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบริหารแบบบูรณาการ ตามที่ผมได้แสดงเป็นแผนภาพไว้ในครั้งก่อนนี้แล้ว
วันนี้ ผมได้อ่านข่าวหนังสือพิมพ์บางฉบับ ที่กล่าวถึงว่า ทุนนอกจ่อทิ้งมาบตาพุด และวิกฤติมาบตาพุด ลามไปถึงธุรกิจพัฒนาที่ดิน นิคม-เขต-สวนอุตสาหกรรม ย้ำชัดล่อแหลมต่อการลงทุนใหม่ หวั่นปิดฉาก ปิโตรเคมี เหล็ก โรงกลั่นในอีสเทิร์นซีบอร์ด ซึ่งมีผลกระทบถึงทุนใหม่ หากยื้อนาน และมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นอย่างร้ายแรงของชาติ และมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนตามหลัก CG ของไทยอย่างชัดเจน
ซึ่งความสำคัญของการดูแลสิ่งแวดล้อมยังเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่การดูแลสังคมที่ประกอบด้วยกลุ่มต่าง ๆ ก็มีความสำคัญเช่นกัน ดังนั้น ดุลยภาพในการจัดการโดยรวม เป็นสิ่งที่รัฐจะต้องเป็นผู้นำในเรื่องนี้ และควรจะหาแนวทางจัดการอย่างรวดเร็ว ก่อนที่จะสายเกินไป
ตลอดจนข่าวที่ “ฮุน เซน” จะเชิญ “ทักษิณ” เป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และบอกปัดส่งตัวกลับให้ไทย โดยอ้างสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ที่เขียนไว้ชัดว่าถ้าเป็นคดีการเมืองไม่ต้องส่งกลับ และระบุปกป้อง “ทักษิณ” ว่าไม่ได้แทรกแซงการเมืองไทย ซึ่งนาย “อภิสิทธิ์” เตือน “ฮุน เซน” ให้คิดให้รอบคอบเรื่อง “ทักษิณ” ว่าเป็นผู้ใหญ่แล้วอย่าไปเป็นเบี้ยหรือเหยื่อให้ใคร อย่าเอาความสัมพันธ์และผลประโยชน์ประชาชนไปแลกกับคนคนเดียว โดยในรายละเอียด ท่านผู้อ่านคงได้ทราบจากข่าวในหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าใจหาย
ในช่วงเวลานี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 และการประชุมสุดยอดอาเซียนกับ 6 ประเทศคู่เจรจาที่ชะอำ – หัวหิน ระหว่างวันที่ 23 – 25 ตุลาคม นี้ เป็นการประชุมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย ในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประชาคมโลก หลังจากที่เคยล้มเหลวมาแล้ว ในการเป็นเจ้าภาพการประชุมแบบเดียวกับที่พัทยา เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา อาจทำให้เกิดเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ของโลก ที่มีประชากรรวมกันถึง 3.2 พันล้านคน หรือครึ่งหนึ่งของประชากรโลก และเชื่อว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนอันสำคัญ ที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยก้าวหน้าไปด้วย
ประเด็นสำคัญก็คือ การเมืองของประเทศไทยต้องมีความมั่นคง รัฐบาลต้องมีเสถียรภาพ ความยุติธรรมจะต้องจัดสรร และจัดให้มีให้กับคนในสังคมทุกกลุ่ม ตามหลักการของการบริหารและการจัดการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งคนไทยทุกคนและทุกฝ่าย จะต้องเชื่อถือและปฏิบัติตามกติกาของสังคม และมีการปฏิบัติโดยเท่าเทียมกัน โดยไม่เห็นแก่พวกพ้อง แต่จะต้องเห็นประโยชน์ของชาติ และยอมรับกติกาประชาธิปไตย ที่มาจากคนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่พิจารณาว่าเป็นหลักการสากล ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก
นอกจากนั้น ในปัจจุบันมีข่าวต่าง ๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับความรัก ความสามัคคีของคนในชาติ ที่มีการบริหารงานแบบบูรณาการ ต้องยึดมั่นในกติกา กฎหมาย ข้อบังคับ ของสังคมในชาติ ก็มีข่าวแปลก ๆ ในเรื่องของการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นข่าวไม่น่าสบายใจเกิดขึ้นในสังคมมาโดยตลอด ส่วนหนึ่งเกิดจากการรักพวกพ้อง ผสมผสานกับความรักในการปฏิบัติตามกติกาในสังคมที่ไม่ลงตัว และไม่ได้ดุลยภาพของคนในองค์กร ที่อาจจะมีตัวอย่างที่ไม่น่าปฏิบัติตามในหลายเรื่องของคนในชาติ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
หากเราไม่สนใจผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ก็คงไม่เดือนร้อนในผลกระทบที่ตามมาในอนาคต ผมจึงขอนำอุปมาและอุปมัย ซึ่งเป็นอุทธาหรณ์ที่ดีและเป็นเรื่องเตือนใจให้คนในสังคมได้ตระหนัก ถึงการปฏิบัติต่อชนชาติในสังคมที่เป็นธรรม ซึ่งจะเป็นที่มาอย่างสำคัญยิ่งของความสมัครสมานสามัคคีในชาติ โดยไม่ต้องให้ชาวต่างชาติมาวิจารณ์ในเรื่องความเป็นธรรม หรือความไม่ถูกต้องในการปฏิบัติในแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่ไม่เป็นผลดีต่อสังคมในชาติ
ต่อไปนี้คือข้อเตือนใจเรื่อง ตา กับ ตีน ซึ่งขอให้ท่านผู้อ่านลองพิจารณาดูนะครับว่า อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายจำนวนมาก ซึ่งจะต้องทำงานด้วยกันเพื่อจะขับเคลื่อนร่างกายให้เป็นปกติ หากอวัยวะหนึ่งอวัยวะใดมีปัญหา อวัยวะอื่นก็จะมีปัญหาตามไปด้วย เพียงแค่ ตา กับ ตีน ในบริบทนี้ เพียง 2 อวัยวะ ก็พาให้ร่างกาย ซึ่งเปรียบเสมือนองค์กรหรือประเทศชาติ ต้องพินาศ ก็น่าจะช่วยเป็นเครื่องเตือนใจให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการหาทางออกเพื่อความปรองดอง และเพื่อความอยู่รอดของสังคมในประเทศไทยนะครับ
ท่านผู้อ่านครับ นิทานหรืออาจจะเรียกว่า อุปมา-อุปมัย เรื่อง ตา กับ ตีน ข้างต้น น่าจะเป็นอุทธาหรณ์สอนใจ ก่อให้เกิดจิตสำนึกของคนในสังคม และคนในชาติไทย ที่จะช่วยกันประคับประคอง สร้างความเข้าใจและความปรองดองในชาติให้เกิดขึ้นให้จงได้ มิฉะนั้น ประเทศไทยของเราคงจะถอยหลังไปอีกไกลแสนไกล
เนื่องจากการขาดความสามัคคีของคนในสังคม ในประเทศ และการเอาชนะซึ่งกันและกัน โดยพิจารณามุมมองและเป้าหมายของตนเอง และเป้าหมายของกลุ่มเป็นหลัก โดยไม่ได้พิจารณาความผิด หรือการกระทำที่ไม่ถูกต้องในมุมมองต่าง ๆ ที่กลุ่มหรือตนเองได้กระทำขึ้น แต่กลับมองในมุมมองที่จะเอาชนะซึ่งกันและกัน โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายของชนในชาติ และกล่าวโทษความผิดกันไปมา และไม่รู้จักอภัยซึ่งกันและกัน จะทำให้ประเทศไทยขาดความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือต่อคนสังคมในชาติ และสังคมระหว่างประเทศ อย่างอยากที่จะแก้ไข
จากนิทานเรื่อง ตา กับ ตีน ซึ่งเป็นอวัยวะเพียง 2 ส่วน และอาจเปรียบเทียบได้ว่าเป็น กลุ่ม 2 กลุ่มในสังคมที่มีความเห็นแตกต่างกัน ยังพาองค์กรและประเทศ ซึ่งเปรียบเสมือนร่างกายของเราเอง จนถึงความตายได้ตามบทเรียนข้างต้นนั้น ท่านผู้อ่านลองพิจารณาดูว่า ร่างกายของคนเรานั้น ประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ มากมายเพียงใด หากจับคู่ จับกลุ่มตีกัน โดยยึดมั่นเป้าหมายของตน แทนเป้าหมายของประเทศชาติ และสังคม จะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทยที่รักของเราครับ
ขณะที่เขียนเรื่องนี้ ก็ยังปรากฎข่าวทางทีวี กันครึกโครมว่า แหล่งข่าวต่างประเทศได้ตีพิมพ์ และออกข่าววิวาทะ ระหว่างนายกรัฐมนตรีของไทย คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ในเรื่องเกี่ยวกับการให้ความเป็นธรรมและมุมมองที่แตกต่างกันของอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย คือ คุณทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นเรื่องที่ลามปามข้ามชาติไปแล้วครับ
ผมคงไม่อาจพูดได้ว่า ใครผิดหรือใครถูก เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นมาถึงประเทศไทย และความเชื่อมั่นของประเทศไทยโดยรวมไปแล้ว ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า เราจะแก้ไขปัญหาความแตกแยกที่หยั่งลึกไปในสังคมของชาติอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนได้อย่างไร และจะเริ่มโดยใคร ใครควรเป็นเจ้าภาพของงานใหญ่โตนี้ และควรจะมีจิตสำนึกถึงผลลัพธ์ที่ควรพิจารณาผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง กันแบบใดดี…
ผมตั้งใจจะจบข้อเขียนเพียงวรรคสุดท้ายข้างต้นนั้น แต่เมื่อพิจารณาว่า หากจะออกความเห็นเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ก็น่าจะเป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น จึงขอออกความเห็นเพิ่มเติมดังนี้
1. การแก้ไขปัญหา และการสร้างความปรองดองของชาติ ต้องเริ่มต้นที่เป้าประสงค์ โดยมีผลประโยชน์ของประเทศชาติ และสังคมโดยรวมเป็นสำคัญ และหลีกเลี่ยงอคติทั้งมวลที่มีอยู่ หลีกเลี่ยงการนำความเกลียด ความกลัว ความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่พวกพ้อง ความอาฆาตมาดร้าย ความคิดในการแก้แค้น ++
2. ร่วมกันให้คำจำกัดความ หรือความหมายของคำว่า ผลประโยชน์ของชาติและสังคมโดยรวม เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ว่าหมายถึงอะไรกันแน่ ครอบคลุมและมีขอบเขตเพียงใด เพราะหากคำจำกัดความ หรือความหมายต่างกันแล้ว การดำเนินงานใด ๆ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติก็จะเบี่ยงเบนไปจากเป้าประสงค์หลักได้
เรื่องนี้มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับแนวความคิดทางด้านจริยธรรม และจรรยาบรรณ ซึ่งมาจากจิตสำนึกผิดชอบ หรือความคิดผิดถูกที่มาจากส่วนบุคคล และมาจากแนวความคิดของ Business Ethics ที่ใช้เป็นคำถามเพื่อหาคำตอบของการตัดสินใจว่า ผิดหรือถูก ดังต่อไปนี้
หากตกลงกันในเรื่องผลประโยชน์ของชาติ และหาคำจำกัดความที่ตรงกันไม่ได้ ในบรรดาผู้บริหารของประเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่มีเป้าประสงค์แตกต่างกันอย่างยิ่งนั้น การก้าวเดินเพื่อแก้ไขหรือจัดการกับปัญหา ความสามัคคีของคนในชาติก็คงเกิดขึ้นได้ยากนะครับ
คงจะจำได้นะครับว่า ผมเคยพูดถึงการกำหนดเป้าประสงค์ในระดับต่าง ๆ ต้องใช้หลัก SMART เป็นสำคัญ หากเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ไม่เป็นไปตามหลักการ SMART ก็จะทำให้กลยุทธ์และการดำเนินการต่าง ๆ ในการก้าวสู่วัตถุประสงค์เป็นไปไม่ได้..