Posts Tagged "ความชัดเจนของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015"

ASEAN ICT Master Plan 2015 and AEC Collaboration

เอเซียได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ้นเป็นลำดับ ดังเห็นได้จากสัดส่วน GDP ของเอเซีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ต่อ GDP โลก เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 9.7% ในปี 2541 มาอยู่ที่ 16.3% ในปี 2552 เช่นเดียวกับมูลค่าการค้าของเอเซียที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนในปี 2552 มูลค่าส่งออกและนำเข้าของเอเซีย คิดเป็นสัดส่วนราว 1 ใน 4 ของมูลค่าส่งออกและนำเข้ารวมของทั้งโลก ส่งผลให้ความมั่งคั่งของประเทศในเอเซียเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แสดงให้เห็นได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศของประเทศในเอเซียรวมกันเพิ่มขึ้นจาก 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2546 เป็นกว่า 4.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2552

เมื่อประกอบกับวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลให้ประเทศเศรษฐกิจหลักต่างได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง และดูเหมือนว่าปัญหาต่าง ๆ จะยังไม่ยุติลงในระยะเวลาอันใกล้ ทำให้หลายฝ่ายมองว่าเอเซียกำลังก้าวเข้ามาเป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของโลกตัวใหม่ ถนนทุกสายที่กำลังมุ่งหน้าเข้าสู่เอเซียในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นการค้า การลงทุน รวมถึงเงินทุน กำลังผลักดันทิศทางเศรษฐกิจโลกให้เข้าสู่ยุคสมัยแห่งเอเซียอย่างแท้จริง ซึ่งไทยควรต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากยุคสมัยแห่งเอเซียให้เต็มประสิทธิภาพ เพราะลำพังตลาดในประเทศไทยอย่างเดียว ซึ่งมีประชากร 0.9% ของประชากรโลก ขณะที่ GDP คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.46% ของ GDP โลก ไม่เพียงพอที่จะผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น กลยุทธ์ในการก้าวไปสู่การรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ก่อนที่จะขยายไปสู่ ASEAN+3 และ ASEAN+6 จะยิ่งทำให้ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากตลาดขนาดใหญ่ได้มากขึ้น

หากจะกล่าวถึงแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ในเรื่องของความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีนั้น อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางการสื่อสาร เทคโนโลยีไอซีทีได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นกับผู้คนทั่วโลกในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการมีการใช้โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์ แลปท๊อป อินเตอร์เน็ต ฯลฯ เทคโนโลยีทั้งหลายเหล่านี้ล้วนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในระยะเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากเหตุผลที่ว่ายุคนี้เป็นยุคของการสื่อสาร เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเสมือนเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็ว ช่วยร่นระยะเวลาการทำงาน การทำกิจกรรมต่าง ๆ ต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้าช่วย การเข้าถึงเทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับยุคนี้ และอนาคตข้างหน้า

จากที่กล่าวมา อาเซียนจึงให้ความสำคัญเรื่องความแตกต่างของการพัฒนา และการใช้ไอซีที ทั้งในระดับประเทศ และระหว่างประเทศในภูมิภาค ซึ่งจะมุ่งเน้นเรื่องการลดความเลื่อมล้ำในบริบทของความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ไอซีทีในวงกว้าง ตามแนวทางของ ASEAN ICT Master Plan 2015 ที่กำหนดเป็นแผนงานตามยุทธศาตร์ที่ 6 ในเรื่องของการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี (Bridging the Digital Divide) ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนในเชิงยุทธศาสตร์ตัวที่ 6 ที่ต้องยอมรับว่า ระดับการพัฒนาด้านไอซีทีของแต่ละประเทศในอาเซียนนั้นไม่ทัดเทียมกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเน้นการลดความเหลือมล้ำในเรื่องการพัฒนาไอซีทีในอาเซียนด้วยมาตรการต่าง ๆ ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้

มาตรการ 6.1 ทบทวนเรื่องพันธะการให้บริการอย่างทั่วถึง (USO) หรือนโยบายอื่นที่คล้ายกัน

มาตรการ 6.2 เชื่อมต่อโรงเรียนและชักนำให้เริ่มเรียนไอซีที เร็วขึ้น

มาตรการ 6.3 ปรับปรุงการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

มาตรการ 6.4 ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีภายในอาเซียน

ความสำเร็จในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ในการก้าวไปสู่การรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ก่อนที่จะขยายไปสู่ ASEAN+3 และ ASEAN+6 จะยิ่งทำให้ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากตลาดขนาดใหญ่จะเป็นจริงได้เพียงใดนั้น โดยความเห็นส่วนตัวและการติดตามความก้าวหน้าในการบริหารที่ต้องใช้กระบวนการบริหารแบบบูรณการ ที่ควรมีการพิจารณาการหลอมรวมกระบวนการบริหารที่ผสมผสานที่มีการนำ วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และแผนงานต่าง ๆ ที่มีการกำหนด และเห็นชอบร่วมกันแล้วใน ASEAN ICT Master Plan 2015 มาใช้เป็นกลไกสนับสนุน หรือเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน ASEAN Economic Community : AEC ให้เป็นรูปธรรมในทุกมุมมองที่เกี่ยวข้อง น่าจะได้ประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มประชาชาคมเศรษฐกิจเอเซียนโดยรวม อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากขึ้น

เมื่อพิจารณาถึง e-Government ที่รัฐบาล โดยหน่วยงานต่าง ๆ กำลังขับเคลื่อนในปัจุบันนั้น ยิ่งมีความเหมาะสมและเป็นไปได้มากขึ้น ในการขับเคลื่อนภารกิจต่าง ๆ ไปด้วยกัน ทั้งน่าจะสอดคล้องกับ Timeframe ที่กำหนดไว้แล้วมากที่สุด+++

ประเด็นสำคัญก็คือ หน่วยงานใด หรือจะมีกระบวนการหลอมรวมการบริหารการจัดการทั้งสามเรื่องที่เข้ากันได้ และเป็นไปได้มากที่สุดและอย่างมีคุณภาพที่สุดนี้ (มุมมองIntegrated Management) นั้น จะมีใครหรือหน่วยงานใด ซึ่งต้องมีผู้นำช่วยกันคิดช่วยกันผลักดันความฝันที่เป็นจริงได้นี้ ให้เกิดขึ้นได้ทั้งในประเทศไทยและเอเซียนตามแนวทางที่ช่วยกันดำเนินการมานานปีแล้ว…

หากประเทศไทยมีโอกาสจัดงานระดับเอเซียนในปีนี้/2012 ไม่ว่าจะในระดับชาติหรือระดับกลุ่มงาน เช่น CIO #16 ก็น่าจะเป็นจังหวะที่ดี ที่จะเริ่มต้นจุดประกายความคิดนี้ให้เป็นจริงตามที่กล่าวข้างต้นและได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ได้ในที่สุดนะครับ

ผมชอบคำกล่าวตอนหนึ่งของท่าน มหาตมะคานธี รัฐบุรุษชาวอินเดียซึ่งกล่าวว่า….“Be the Change you want to see in the World” [1869-1948] และนาย เพิร์ล เอส บั๊ค [1892-1973] นักเขียนชาวอเมริกันเชื้อสายจีน เคยกล่าวว่า “ทุกสิ่งเป็นไปได้ จนกว่ามันจะมีการพิสูจน์ว่า เป็นไปไม่ได้ และแม้แต่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ นั้นก็เป็นเพียงแค่สิ่งที่ เป็นไปไม่ได้ ในชั่วขณะนี้เท่านั้น” [All things are possible until they are proved Impossible and even the impossible may only be so, or of now.]

ครับ สำหรับเรื่องนี้ผมคงต้องขอจบชั่วคราว ก่อนที่จะกลับมาติดตามและเขียนเพิ่มเติมใหม่ เมื่อมีสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมชวนให้เขียนต่อไปนะครับ 🙂

 

ความชัดเจนของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ที่น่าจะสัมพันธ์กับการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีของไทยบางมุมมอง ในอนาคต (ตอน 7) – Human Capital Development

จากจุดมุ่งหมายหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) คือการนำอาเซียนไปสู่การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (Single Market and Production Base) ซึ่งหมายถึงการทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีใน 5 สาขา ประกอบด้วยสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และเงินทุน ซึ่งแน่นอนว่าการเปิดเสรีดังกล่าว ย่อมมีผู้ที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์มากน้อยแตกต่างกันตามศักยภาพของผู้ประกอบการในแต่ละประเทศ

การขับเคลื่อนอาเซียนไปสู่ตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (Single Market and Production Base) นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเชื่อมโยงแนวคิดดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมผ่านกระบวนการทาง ASEAN ICT Master Plan 2015 ซึ่งได้นำเสนอมาตามลำดับ

ครั้งนี้ผมจะนำเสนอเป็นตอนที่ 7 ครับ โดยจะกล่าวถึงยุทธศาสตร์ที่ 5 ในเรื่องของการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital Development) ซึ่งการพัฒนาทุนมนุษย์นั้น เป็นฐานรากที่สอง ที่มุ่งเน้นจะช่วยให้ประชาชนของอาเซียน ได้พัฒนาทักษะเพื่อยกระดับไอซีที ช่วยให้แรงงานด้านไอซีทีมีความสามารถมากขึ้น และทำให้ประชาคมมีความรู้เพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องด้วย 2 สิ่ง คือการฝึกหัด และการรับรองมาตฐานทักษะด้านไอซีที

สำหรับมาตรการที่ช่วยในการพัฒนาทุนมนุษย์ตามแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 แบ่งเป็น 2 มาตรการ คือ

มาตรการ 5.1 การสร้างสมรรถภาพ

มาตรการ 5.2 การเพิ่มพูนทักษะและการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ

ASEAN ICT Master Plan น่าจะเป็นคำตอบรวมทั้งเป็นเครื่องมือที่ดีที่สามารถสร้างพื้นฐาน และกระบวนการบริหารแบบสอดประสานและบูรณาการตามกลยุทธ์และแผนการดำเนินงาน ไปสู่วิสัยทัศน์ที่สนับสนุนการก้าวสู่ AEC ที่เป็นรูปธรรมได้แทบทุกมุมมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดเสรีทางด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เนื่องจากการเปิดเสรีดังกล่าว อาจทำให้แรงงานฝีมือในอาเซียนย้ายจากประเทศที่มีค่าตอบแทนต่ำ (ประเทศในแถบอินโดจีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย รวมถึงไทย) ไปยังประเทศที่มีค่าแรงสูงกว่าและมีการใช้ภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลาย อาทิ สิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งหลายฝ่ายเริ่มเป็นห่วงว่าการเปิดเสรีแรงงานฝีมือดังกล่าว จะทำให้แรงงานฝืมือของไทยในบางสาขาย้ายไปทำงานในมาเลเซียและสิงคโปร์ โดยเฉพาะสาขาการแพทย์และวิศวกร มีผลให้อนาคตไทยอาจขาดแคลนแรงงานฝีมือที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศในระยะถัดไป

นอกจากนั้น ในระยะยาว หากมีการขยายกรอบความร่วมมือเป็น ASEAN+3 หรือ ASEAN+6 ก็มีความเป็นไปได้ว่าแรงงานฝีมือในบางสาขา อาทิ การเงินธนาคาร รวมถึง IT จากประเทศเหล่านี้จะเข้ามาแย่งงานบุคลากรไทยมากขึ้นนั้น

วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ มาตรการและแผนการดำเนินงาน ตาม ASEAN ICT Master 2015 เมื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงอาจจะลดปัญหาต่าง ๆ ตามประเด็นของการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ ซึ่งหลายท่านอาจจะเป็นห่วงอยู่ได้บ้างนะครับ

 

ความชัดเจนของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ที่น่าจะสัมพันธ์กับการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีของไทยบางมุมมอง ในอนาคต (ตอน6) – Infrastructure Development

สวัสดีครับทุกท่าน ช่วงนี้ก็ใกล้จะปีใหม่เข้าไปทุกขณะแล้้ว หลายท่านก็คงเตรียมจัดการกับการงานที่คั่งค้างให้เรียบร้อยก่อนที่จะหยุดพักผ่อนในช่วงสิ้นปี เพื่อที่ว่าในปีหน้า ปี 2555 จะไ้ด้เริ่มต้นอะไรใหม่ ๆ ได้อย่างเต็มที่

สำหรับเรื่องราวที่จะเล่าสู่กันฟังในวันนี้ ผมคงจะนำเสนอเป็นตอนสุดท้ายของปี 2554 นี้ แต่ก็คงไม่ใช่สุดท้ายในเรื่องของความชัดเจนของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ที่ได้พูดคุยกันมาหลายตอนก่อนหน้านี้ โดยรายละเอียดที่จะกล่าวถึงในตอนนี้เป็นยุทธศาสตร์ที่ 4 ของ ASEAN ICT Master Plan 2015 คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของฐานรากที่มีความจำเป็นต่อความสำเร็จของยุทธศาสตร์สามตัวแรกที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

ASEAN ICT Masterplan 2015

ตามแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในกรณีนี้จำเป็นต้องเน้นการจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานหลัก ที่เอื้อต่อการให้บริการด้านไอซีทีแก่ประชาคมทั้งหลายในอาเซียน อีกทั้งยังต้องร่วมกันกำหนดนโยบาย และตรากฎหมาย เพื่อดึงดูดธุรกิจและการลงทุนสู่ภูมิภาคนี้ด้วย ดังมาตรการและแผนงานต่อไปนี้

มาตรการ 4.1 พัฒนาระบบเชื่อมโยงของบรอดแบนด์

มาตรการ 4.2 ส่งเสริมให้เครือข่ายมีความมั่นคง และปลอดภัย มีการปกป้องข้อมูล
รวมทั้งมีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ CERT

จากมาตรการและแผนงานของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ในยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่ผมเคยได้กล่าวมาแล้ว ทั้งในเรื่องมาตรการที่ทำให้ทุกชุมชนสามารถเข้าถึงการบริการบรอดแบนด์ได้ด้วยราคาที่ไม่แพง การทำให้สินค้าไอซีทีมีราคาที่ไม่แพง การบริการแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเนื้อหาและระบบงานประยุกต์มีราคาที่ไม่แพง และมีประสิทธิภาพ การสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของธุรกรรมทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งมาตรการการสร้างนวัตกรรมที่มุ่งให้ทุกประเทศในอาเซียนพัฒนาสิ่งสร้างสรรค์นวัตกรรม และ ICT ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green ICT) กำลังเป็นที่สนใจและจับตามองของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความสัมพันธ์กับการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีของไทยในบางมุมมอง ที่จะสามารถผลักดันและเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิบัิติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

 

ความชัดเจนของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ที่น่าจะสัมพันธ์กับการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีของไทยบางมุมมอง ในอนาคต (ตอน5) – Green ICT

สวัสดีครับทุกท่าน ก็ห่างกันไปนานพอสมควรนะครับจากเนื้อหาในครั้งก่อน เนื่องจากเว็บ itgthailand.com มีปัญหาทางด้าน server ทำให้ไม่สามารถ update สาระ ความรู้ และเรื่องราวต่าง ๆ ได้ แต่ตอนนี้สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติแล้วครับ วันนี้ก็คงกลับมาต่อกันในเรื่องของแผนแม่บทไอซี อาเซียน 2015 จากครั้งที่แล้วผมได้เล่าถึงยุทธศาสตร์ ข้อที่ 2 ของ ICT Master Plan 2015 ที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมและเสริมสร้างพลัง ซึ่งมีมาตรการและกำหนดเป็นแผนงานที่ต้องปฏิบัติ 4 มาตรการ คือ 1) การทำให้ทุกชุมชนสามารถเข้าถึงการบริการบรอดแบนด์ได้ด้วยราคาที่ไม่แพง 2) ทำให้สินค้าไอซีทีมีราคาที่ไม่แพง 3) ให้แน่ใจว่าการบริการแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเนื้อหาและระบบงานประยุกต์มีราคาที่ไม่แพง และมีประสิทธิภาพ และ 4) การสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของธุรกรรมทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประเทศไทยเราได้มีการนำเสนอแผนนโยบายให้บริการบรอดแบนด์ เพื่อให้กำหนดเป็นนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ที่สัมพันธ์กับ ICT Master Plan 2015 ตามที่ได้กล่าวถึงในตอนที่แล้ว

สำหรับในครั้งนี้ผมจะขอเล่าถึงยุทธศาสตร์ในการสร้างนวัตกรรม โดยที่อาเซียนจะสนับสนุนอุตสาหกรรมไอซีทีที่สร้างสรรค์ มีนวัตกรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ข้อที่ 3 ด้านนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมจะมุ่งให้ทุกประเทศในอาเซียนพัฒนาสิ่งสร้างสรรค์นวัตกรรม และ ICT ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green ICT) และเชิญชวนให้รัฐบาลของสมาชิกในอาเซียนกำหนดนโยบาย และจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรมในทุกภาคส่วน (เช่น แบ่งปันความชำนาญ และสมรรถนะที่หลากหลายและแตกต่างกันภายในกลุ่มประเทศสมาชิก และให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์กันและกัน จากความรู้และความสามารถที่มีอยู่กระจัดกระจาย)

การสร้างนวัตกรรมที่กล่าวถึงนี้แบ่งได้เป็น 3 มาตรการ แต่ละมาตรการได้กำหนดเป็นแผนงานในการนำไปปฏิบัติดังนี้

มาตรการ 3.1 สร้างศูนย์แห่งความเป็นเลิศเพื่อนวัตกรรม สำหรับการวิจัยและพัฒนาบริการไอซีที

มาตรการ 3.2 ส่งเสริมนวัตกรรมและความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ ประชาชน และสถาบันอื่น ๆ

มาตรการ 3.3 พลักดันให้เกิดนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ในระดับโรงเรียน

ยุทธศาสตร์ของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ยังมีแผนงานและรายละเอียดที่น่าสนใจและติดตามอยู่อีกหลายเรื่อง ซึ่งผมจะทยอยนำมาเล่าสู่กันฟัง ส่วนในครั้งหน้าผมคงจะพูดถึงยุทธศาสตร์ข้อที่ 4 ที่เป็นเรื่องของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักที่เอื้อต่อการให้บริการด้านไอซีที โปรดติดตามกันต่อไปนะครับ

 

ความชัดเจนของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ที่น่าจะสัมพันธ์กับการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีของไทยบางมุมมอง ในอนาคต

ผมได้อ่านแผนแม่บทไอซีทีของอาเซียน 2015 (ASEAN ICT Masterplan 2015) ที่แปลโดย ดร. มนู อรดีดลเชษฐ์ ซึ่งใน ASEAN ICT Masterplan 2015 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ และจุดประสงค์ที่ต้องการจะบรรลุผล ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนงานการขับเคลื่อนและเสริมสร้างพลังของเทคโนโลยีที่จะช่วยให้เกิดการปฏิรูป โดยอาศัยไอซีทีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพวกเรา ทั้งในด้านความเป็นอยู่ การเีรียนรู้ การทำงาน จนถึงด้านนันทนาการ

ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดในอาเซียน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาคม และภาคธุรกิจ ทั้งที่พัฒนาแล้ว และที่กำลังพัฒนา ทั้งที่อยู่ในเมือง และในชนบท ทั้งเยาวชนและผู้สูงอายุ รวมทั้งผู้ที่มีโอกาสและที่ด้อยโอกาส เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม เื้อื้อต่อการสร้างธุรกิจใหม่ และกระตุ้นให้ไอซีทีเบ่งบานและประสบความสำเร็จ รวมทั้งทำให้เกิดการเชื่อมต่อกันในอาเซียน ระหว่างประชาชน รัฐบาล และธุรกิจ

แผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015

ทั้งนี้ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ตามมาด้วยผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจากแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 4 ประการ ซึ่งพิจารณาได้ว่าเป็น Output – Outcome ที่ชัดเจนคือ

1. ไอซีทีเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเติบโตสำหรับอาเซียน
2. ยอมรับว่าอาเซียนเป็นศูนย์กลางไอซีทีระดับโลก
3. เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนในอาเซียน
4. มีผลต่อการรวมตัวในอาเซียน

ซึ่งผลลัพธ์ตามข้อสุดท้ายนี้ สรุปได้สั้น ๆ คือ ไอซีทีจะช่วยให้เกิดความร่วมมือกันมากมาย ระหว่างกลุ่มธุรกิจ และประชาชน จนนำไปสู่การรวมตัวของอาเซียน

ทั้งนี้ แผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 มีแรงขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์ 6 ยุทธศาสตร์ด้วยกัน และก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สรุปย่อ ๆ ดังนี้

1. การปฏิรูปทางเศรษฐกิจ
2. การเสริมสร้างพลังให้แก่ประชาชนและให้ประชาชนมีส่วนร่วม
3. การสร้างนวัตกรรม
4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
5. การพัฒนาทุนมนุษย์
6. การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี

สำหรับข้อที่ 6 นี้ อาเซียนจะให้ความสำคัญเรื่องความแตกต่างของการพัฒนา และการใช้ไอซีที ทั้งในระดับประเทศ และระหว่างประเทศในภูมิภาค อาเซียนจะเน้นเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำในบริบทของความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ไอซีทีในวงกว้าง

ทั้งนี้ยังมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องในการกำหนดแผนงานและมีการอธิบายไว้อย่างชัดเจน สามารถเข้าใจได้ง่าย นำไปปฏิบัติได้ ซึ่งน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ในอนาคตต่อไป

ซึ่งอย่างน้อยแผนแม่บทไอซีทีแห่งชาติ ฉบับที่ 3 นั้น ควรจะมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 และการปรับปรุงที่จะมีตามมา

ASEAN ICT Masterplan 2015

อนึ่ง ผมได้เล่าถึง Output – Outcome ที่จะได้รับตามวิสัยทัศน์ของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ตามที่กล่าวข้างต้นนั้น แต่ยังไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดของวิสัยทัศน์ดังกล่าว ซึ่งวิสัยทัศน์ในแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ที่ ดร. มนู ดรดีดลเชษฐ์ แปลได้ใจความดังนี้

ไอซีทีจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ เพื่อให้เกิดการรวมตัวทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจในอาเซียน ไอซีทีจะช่วยการปฏิรูปอาเซียนให้เป็นตลาดเดียว ด้วยวิธีพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานไอซีทียุคใหม่ และพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีฝีมือ ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม จัดให้มีนโยบาย ส่งเสริม และสร้างสภาพแวดล้อมที่มีกฎระเบียบ ด้วยมาตรการดังกล่าว อาเซียนจะเสริมสร้างพลังให้แก่ชุมชน และผลักดันให้อาเซียนมีสถานภาพเป็นศูนย์กลางไอซีที ที่ครอบคลุมได้อย่างทั่วถึง และคึกคัก ส่งผลให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่เหมาะกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

สำหรับรายละเอียดของ ASEAN ICT Masterplan 2015 ซึ่งได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2554 ที่แปลโดย ดร. มนู อรดีดลเชษฐ์ ที่เข้าใจได้ง่ายนั้น ผมจะลงนำเสนอในตอนต่อไปตามสมควร

 
https://www.amazon.com/Bikeroo-Oversized-Comfort-Comfortable-Replacement/dp/B07B646ZZY/