เอเซียได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ้นเป็นลำดับ ดังเห็นได้จากสัดส่วน GDP ของเอเซีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ต่อ GDP โลก เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 9.7% ในปี 2541 มาอยู่ที่ 16.3% ในปี 2552 เช่นเดียวกับมูลค่าการค้าของเอเซียที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนในปี 2552 มูลค่าส่งออกและนำเข้าของเอเซีย คิดเป็นสัดส่วนราว 1 ใน 4 ของมูลค่าส่งออกและนำเข้ารวมของทั้งโลก ส่งผลให้ความมั่งคั่งของประเทศในเอเซียเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แสดงให้เห็นได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศของประเทศในเอเซียรวมกันเพิ่มขึ้นจาก 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2546 เป็นกว่า 4.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2552
เมื่อประกอบกับวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลให้ประเทศเศรษฐกิจหลักต่างได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง และดูเหมือนว่าปัญหาต่าง ๆ จะยังไม่ยุติลงในระยะเวลาอันใกล้ ทำให้หลายฝ่ายมองว่าเอเซียกำลังก้าวเข้ามาเป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของโลกตัวใหม่ ถนนทุกสายที่กำลังมุ่งหน้าเข้าสู่เอเซียในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นการค้า การลงทุน รวมถึงเงินทุน กำลังผลักดันทิศทางเศรษฐกิจโลกให้เข้าสู่ยุคสมัยแห่งเอเซียอย่างแท้จริง ซึ่งไทยควรต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากยุคสมัยแห่งเอเซียให้เต็มประสิทธิภาพ เพราะลำพังตลาดในประเทศไทยอย่างเดียว ซึ่งมีประชากร 0.9% ของประชากรโลก ขณะที่ GDP คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.46% ของ GDP โลก ไม่เพียงพอที่จะผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น กลยุทธ์ในการก้าวไปสู่การรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ก่อนที่จะขยายไปสู่ ASEAN+3 และ ASEAN+6 จะยิ่งทำให้ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากตลาดขนาดใหญ่ได้มากขึ้น
หากจะกล่าวถึงแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ในเรื่องของความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีนั้น อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางการสื่อสาร เทคโนโลยีไอซีทีได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นกับผู้คนทั่วโลกในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการมีการใช้โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์ แลปท๊อป อินเตอร์เน็ต ฯลฯ เทคโนโลยีทั้งหลายเหล่านี้ล้วนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในระยะเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากเหตุผลที่ว่ายุคนี้เป็นยุคของการสื่อสาร เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเสมือนเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็ว ช่วยร่นระยะเวลาการทำงาน การทำกิจกรรมต่าง ๆ ต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้าช่วย การเข้าถึงเทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับยุคนี้ และอนาคตข้างหน้า
จากที่กล่าวมา อาเซียนจึงให้ความสำคัญเรื่องความแตกต่างของการพัฒนา และการใช้ไอซีที ทั้งในระดับประเทศ และระหว่างประเทศในภูมิภาค ซึ่งจะมุ่งเน้นเรื่องการลดความเลื่อมล้ำในบริบทของความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ไอซีทีในวงกว้าง ตามแนวทางของ ASEAN ICT Master Plan 2015 ที่กำหนดเป็นแผนงานตามยุทธศาตร์ที่ 6 ในเรื่องของการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี (Bridging the Digital Divide) ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนในเชิงยุทธศาสตร์ตัวที่ 6 ที่ต้องยอมรับว่า ระดับการพัฒนาด้านไอซีทีของแต่ละประเทศในอาเซียนนั้นไม่ทัดเทียมกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเน้นการลดความเหลือมล้ำในเรื่องการพัฒนาไอซีทีในอาเซียนด้วยมาตรการต่าง ๆ ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้
มาตรการ 6.1 ทบทวนเรื่องพันธะการให้บริการอย่างทั่วถึง (USO) หรือนโยบายอื่นที่คล้ายกัน
มาตรการ 6.2 เชื่อมต่อโรงเรียนและชักนำให้เริ่มเรียนไอซีที เร็วขึ้น
มาตรการ 6.3 ปรับปรุงการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
มาตรการ 6.4 ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีภายในอาเซียน
ความสำเร็จในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ในการก้าวไปสู่การรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ก่อนที่จะขยายไปสู่ ASEAN+3 และ ASEAN+6 จะยิ่งทำให้ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากตลาดขนาดใหญ่จะเป็นจริงได้เพียงใดนั้น โดยความเห็นส่วนตัวและการติดตามความก้าวหน้าในการบริหารที่ต้องใช้กระบวนการบริหารแบบบูรณการ ที่ควรมีการพิจารณาการหลอมรวมกระบวนการบริหารที่ผสมผสานที่มีการนำ วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และแผนงานต่าง ๆ ที่มีการกำหนด และเห็นชอบร่วมกันแล้วใน ASEAN ICT Master Plan 2015 มาใช้เป็นกลไกสนับสนุน หรือเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน ASEAN Economic Community : AEC ให้เป็นรูปธรรมในทุกมุมมองที่เกี่ยวข้อง น่าจะได้ประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มประชาชาคมเศรษฐกิจเอเซียนโดยรวม อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากขึ้น
เมื่อพิจารณาถึง e-Government ที่รัฐบาล โดยหน่วยงานต่าง ๆ กำลังขับเคลื่อนในปัจุบันนั้น ยิ่งมีความเหมาะสมและเป็นไปได้มากขึ้น ในการขับเคลื่อนภารกิจต่าง ๆ ไปด้วยกัน ทั้งน่าจะสอดคล้องกับ Timeframe ที่กำหนดไว้แล้วมากที่สุด+++
ประเด็นสำคัญก็คือ หน่วยงานใด หรือจะมีกระบวนการหลอมรวมการบริหารการจัดการทั้งสามเรื่องที่เข้ากันได้ และเป็นไปได้มากที่สุดและอย่างมีคุณภาพที่สุดนี้ (มุมมองIntegrated Management) นั้น จะมีใครหรือหน่วยงานใด ซึ่งต้องมีผู้นำช่วยกันคิดช่วยกันผลักดันความฝันที่เป็นจริงได้นี้ ให้เกิดขึ้นได้ทั้งในประเทศไทยและเอเซียนตามแนวทางที่ช่วยกันดำเนินการมานานปีแล้ว…
หากประเทศไทยมีโอกาสจัดงานระดับเอเซียนในปีนี้/2012 ไม่ว่าจะในระดับชาติหรือระดับกลุ่มงาน เช่น CIO #16 ก็น่าจะเป็นจังหวะที่ดี ที่จะเริ่มต้นจุดประกายความคิดนี้ให้เป็นจริงตามที่กล่าวข้างต้นและได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ได้ในที่สุดนะครับ
ผมชอบคำกล่าวตอนหนึ่งของท่าน มหาตมะคานธี รัฐบุรุษชาวอินเดียซึ่งกล่าวว่า….“Be the Change you want to see in the World” [1869-1948] และนาย เพิร์ล เอส บั๊ค [1892-1973] นักเขียนชาวอเมริกันเชื้อสายจีน เคยกล่าวว่า “ทุกสิ่งเป็นไปได้ จนกว่ามันจะมีการพิสูจน์ว่า เป็นไปไม่ได้ และแม้แต่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ นั้นก็เป็นเพียงแค่สิ่งที่ เป็นไปไม่ได้ ในชั่วขณะนี้เท่านั้น” [All things are possible until they are proved Impossible and even the impossible may only be so, or of now.]
ครับ สำหรับเรื่องนี้ผมคงต้องขอจบชั่วคราว ก่อนที่จะกลับมาติดตามและเขียนเพิ่มเติมใหม่ เมื่อมีสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมชวนให้เขียนต่อไปนะครับ 🙂