Posts Tagged "ASEAN ICT Masterplan 2015"

ความชัดเจนของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ที่น่าจะสัมพันธ์กับการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีของไทยบางมุมมอง ในอนาคต (ตอน 7) – Human Capital Development

จากจุดมุ่งหมายหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) คือการนำอาเซียนไปสู่การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (Single Market and Production Base) ซึ่งหมายถึงการทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีใน 5 สาขา ประกอบด้วยสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และเงินทุน ซึ่งแน่นอนว่าการเปิดเสรีดังกล่าว ย่อมมีผู้ที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์มากน้อยแตกต่างกันตามศักยภาพของผู้ประกอบการในแต่ละประเทศ

การขับเคลื่อนอาเซียนไปสู่ตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (Single Market and Production Base) นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเชื่อมโยงแนวคิดดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมผ่านกระบวนการทาง ASEAN ICT Master Plan 2015 ซึ่งได้นำเสนอมาตามลำดับ

ครั้งนี้ผมจะนำเสนอเป็นตอนที่ 7 ครับ โดยจะกล่าวถึงยุทธศาสตร์ที่ 5 ในเรื่องของการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital Development) ซึ่งการพัฒนาทุนมนุษย์นั้น เป็นฐานรากที่สอง ที่มุ่งเน้นจะช่วยให้ประชาชนของอาเซียน ได้พัฒนาทักษะเพื่อยกระดับไอซีที ช่วยให้แรงงานด้านไอซีทีมีความสามารถมากขึ้น และทำให้ประชาคมมีความรู้เพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องด้วย 2 สิ่ง คือการฝึกหัด และการรับรองมาตฐานทักษะด้านไอซีที

สำหรับมาตรการที่ช่วยในการพัฒนาทุนมนุษย์ตามแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 แบ่งเป็น 2 มาตรการ คือ

มาตรการ 5.1 การสร้างสมรรถภาพ

มาตรการ 5.2 การเพิ่มพูนทักษะและการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ

ASEAN ICT Master Plan น่าจะเป็นคำตอบรวมทั้งเป็นเครื่องมือที่ดีที่สามารถสร้างพื้นฐาน และกระบวนการบริหารแบบสอดประสานและบูรณาการตามกลยุทธ์และแผนการดำเนินงาน ไปสู่วิสัยทัศน์ที่สนับสนุนการก้าวสู่ AEC ที่เป็นรูปธรรมได้แทบทุกมุมมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดเสรีทางด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เนื่องจากการเปิดเสรีดังกล่าว อาจทำให้แรงงานฝีมือในอาเซียนย้ายจากประเทศที่มีค่าตอบแทนต่ำ (ประเทศในแถบอินโดจีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย รวมถึงไทย) ไปยังประเทศที่มีค่าแรงสูงกว่าและมีการใช้ภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลาย อาทิ สิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งหลายฝ่ายเริ่มเป็นห่วงว่าการเปิดเสรีแรงงานฝีมือดังกล่าว จะทำให้แรงงานฝืมือของไทยในบางสาขาย้ายไปทำงานในมาเลเซียและสิงคโปร์ โดยเฉพาะสาขาการแพทย์และวิศวกร มีผลให้อนาคตไทยอาจขาดแคลนแรงงานฝีมือที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศในระยะถัดไป

นอกจากนั้น ในระยะยาว หากมีการขยายกรอบความร่วมมือเป็น ASEAN+3 หรือ ASEAN+6 ก็มีความเป็นไปได้ว่าแรงงานฝีมือในบางสาขา อาทิ การเงินธนาคาร รวมถึง IT จากประเทศเหล่านี้จะเข้ามาแย่งงานบุคลากรไทยมากขึ้นนั้น

วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ มาตรการและแผนการดำเนินงาน ตาม ASEAN ICT Master 2015 เมื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงอาจจะลดปัญหาต่าง ๆ ตามประเด็นของการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ ซึ่งหลายท่านอาจจะเป็นห่วงอยู่ได้บ้างนะครับ

 

ความชัดเจนของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ที่น่าจะสัมพันธ์กับการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีของไทยบางมุมมอง ในอนาคต (ตอน6) – Infrastructure Development

สวัสดีครับทุกท่าน ช่วงนี้ก็ใกล้จะปีใหม่เข้าไปทุกขณะแล้้ว หลายท่านก็คงเตรียมจัดการกับการงานที่คั่งค้างให้เรียบร้อยก่อนที่จะหยุดพักผ่อนในช่วงสิ้นปี เพื่อที่ว่าในปีหน้า ปี 2555 จะไ้ด้เริ่มต้นอะไรใหม่ ๆ ได้อย่างเต็มที่

สำหรับเรื่องราวที่จะเล่าสู่กันฟังในวันนี้ ผมคงจะนำเสนอเป็นตอนสุดท้ายของปี 2554 นี้ แต่ก็คงไม่ใช่สุดท้ายในเรื่องของความชัดเจนของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ที่ได้พูดคุยกันมาหลายตอนก่อนหน้านี้ โดยรายละเอียดที่จะกล่าวถึงในตอนนี้เป็นยุทธศาสตร์ที่ 4 ของ ASEAN ICT Master Plan 2015 คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของฐานรากที่มีความจำเป็นต่อความสำเร็จของยุทธศาสตร์สามตัวแรกที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

ASEAN ICT Masterplan 2015

ตามแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในกรณีนี้จำเป็นต้องเน้นการจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานหลัก ที่เอื้อต่อการให้บริการด้านไอซีทีแก่ประชาคมทั้งหลายในอาเซียน อีกทั้งยังต้องร่วมกันกำหนดนโยบาย และตรากฎหมาย เพื่อดึงดูดธุรกิจและการลงทุนสู่ภูมิภาคนี้ด้วย ดังมาตรการและแผนงานต่อไปนี้

มาตรการ 4.1 พัฒนาระบบเชื่อมโยงของบรอดแบนด์

มาตรการ 4.2 ส่งเสริมให้เครือข่ายมีความมั่นคง และปลอดภัย มีการปกป้องข้อมูล
รวมทั้งมีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ CERT

จากมาตรการและแผนงานของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ในยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่ผมเคยได้กล่าวมาแล้ว ทั้งในเรื่องมาตรการที่ทำให้ทุกชุมชนสามารถเข้าถึงการบริการบรอดแบนด์ได้ด้วยราคาที่ไม่แพง การทำให้สินค้าไอซีทีมีราคาที่ไม่แพง การบริการแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเนื้อหาและระบบงานประยุกต์มีราคาที่ไม่แพง และมีประสิทธิภาพ การสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของธุรกรรมทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งมาตรการการสร้างนวัตกรรมที่มุ่งให้ทุกประเทศในอาเซียนพัฒนาสิ่งสร้างสรรค์นวัตกรรม และ ICT ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green ICT) กำลังเป็นที่สนใจและจับตามองของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความสัมพันธ์กับการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีของไทยในบางมุมมอง ที่จะสามารถผลักดันและเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิบัิติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

 

ความชัดเจนของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ที่น่าจะสัมพันธ์กับการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีของไทยบางมุมมอง ในอนาคต (ตอน4)

จากหลักการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ทั้ง 6 ตามแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ซึ่งจะมีแนวทางปฏิบัติที่ค่อนข้างชัดเจน เป็นรูปธรรม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดการบริหารแบบบูรณาการ ดังที่ได้กล่าวในตอนที่แล้ว ถึงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางการปฏิรูปทางเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์ ข้อ 1. มี 2 มาตรการ คือ มาตรการที่ 1 สร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดึงดูดใจ ที่เอื้อให้ธุรกิจเติบโตได้ จากอิทธิพลของไอซีที และมาตรการที่ 2 พัฒนาความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน (Public-Private Partnership, PPP) สำหรับอุตสาหกรรมไอซีที ที่ได้จัดทำเป็นแผนงานให้สามารถนำไปปฏิบัติตามหลักยุทธศาสตร์นั้น ๆ ได้

วันนี้ผมจะขอกล่าวต่อถึงแผนงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ข้อที่ 2 คือ การให้ประชาชนมีส่วนร่วมและเสริมสร้างพลัง ตามแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 นี้ การเสริมสร้างพลังให้ประชาชน และให้ประชาชนมีส่วนร่วม ต้องเน้นการมีไอซีทีที่มีราคาไม่แพง ซึ่งจะนำไปสู่การทำให้ประชาชนในอาเซียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ที่ซึ่งการบริการบรอดแบนด์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังถือว่าเป็นของฟุ่มเฟือย ในยุทธศาสตร์ที่ 2 นี้ได้แบ่งเป็น 4 มาตรการ คือ

มาตรการ 2.1 ทำให้ทุกชุมชนสามารถเข้าถึงการบริการบรอดแบนด์ได้ด้วยราคาที่ไม่แพง

มาตรการ 2.2 ทำให้สินค้าไอซีทีมีราคาที่ไม่แพง

มาตรการ 2.3 ให้แน่ใจว่าการบริการแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเนื้อหาและระบบงานประยุกต์มีราคาที่ไม่แพง และมีประสิทธิภาพ

มาตรการ 2.4 สร้างความเชื่อมั่น

อนึ่ง ในยุทธศาสตร์ ข้อที่ 2 นี้ เมื่อกล่าวถึงมาตรการเกี่ยวกับการบริการบรอดแบนด์ ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ ได้นำเสนอร่างนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ หรือการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เสนอต่อสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (เอ็นไอทีซี) เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2554 เพื่อขอให้พิจารณาเป็นนโยบายแห่งชาติ

อีกทั้ง ดร.รอม ยังได้เปิดเผยในงานเวิร์กช็อปสำหรับสื่อมวลชน เรื่อง “โครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ ประโยชน์เพื่อใคร ทำไมต้องมี” ว่า นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ เป็นการให้บริการไอซีทีกับประชาชนอย่างทั่วถึงในราคาที่เหมาะสม โดยแผนบรอดแบนด์แห่งชาติที่ประเทศเยอรมนี ระบุชัดเจนว่า ปี ค.ศ. 2014 จะต้องให้บริการบรอดแบนด์ที่ความเร็ว 50 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งแผนบรอดแบนด์แห่งชาติของไทย อาจไม่ระบุชัดเจนว่าต้องให้บริการบรอดแบนด์ ความเร็วเท่าไหร่ แต่จะระบุว่า บริการที่ได้รับมีอะไรบ้าง

ผมมีความเห็นส่วนตัวว่า การระบุหรือให้บริการบรอดแบนด์ที่กำหนดความเร็วในระดับความเร็วที่ไม่ต่ำกว่าการสนองตอบความต้องการของผู้มีผลประโยชน์ร่วมนั้น เป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งจะนำมาสู่แผนงานและการปฏิบัติงานที่เหมาะสมตามเป้าประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะเห็นได้ว่า นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ นี้นั้น สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ข้อที่ 2 ตามแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ดังกล่าวข้างต้น

สำหรับในครั้งต่อไป ผมจะเล่าเรื่องการสร้างนวัตกรรม ตามแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ ข้อที่ 3 ที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมไอซีทีที่สร้างสรรค์ มีนวัตกรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

มาถึงตอนนี้ ท่านผู้อ่านที่ไม่ได้ติดตามเรื่องราวการดำเนินงานตามแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ตั้งแต่ต้น สามารถกลับไปทบทวนเรื่องราวที่ผมได้นำเสนอมาในแต่ละตอนได้ตามลิงก์ด้านล่างนะครับ

ความชัดเจนของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ที่น่าจะสัมพันธ์กับการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีของไทยบางมุมมอง ในอนาคต (ตอนที่ 3)

ความชัดเจนของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ที่น่าจะสัมพันธ์กับการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีของไทยบางมุมมอง ในอนาคต (ตอนที่ 2)

ความชัดเจนของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ที่น่าจะสัมพันธ์กับการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีของไทยบางมุมมอง ในอนาคต (ตอนที่ 1)

 

ความชัดเจนของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ที่น่าจะสัมพันธ์กับการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีของไทยบางมุมมอง ในอนาคต (ตอน3)

ในตอนที่ 2 ผมได้กล่าวถึง 3 เสาหลักที่รองรับและสอดคล้องกับการขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์ตามแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ทั้งในระดับอาเซียน ระดับประเทศ รวมถึงระดับธุรกิจ ซึ่งได้แก่

ASEAN ICT Masterplan 2015

1. การปฎิรูปทางเศรษฐกิจ / Economic Transformation
2. การเสริมสร้างพลังให้แก่ประชาชนและให้ประชาชนมีส่วนร่วม / People Empowerment & Enggagement
3. การสร้างนวัตกรรม / Innovation

โดยได้กำหนดเป็น 6 ยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่ภาคปฏิบัติภายใต้ฐานที่เป็นเสาหลัก 3 ข้อดังกล่าวข้างต้นคือ

1. การปฎิรูปทางเศรษฐกิจ
อาเซียนจะสร้างสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจ เพื่อการส่งเสริมทางธุรกิจการลงทุน และสร้างธุรกิจใหม่ในภาคไอซีที ไอซีทีเองจะเป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการปฎิรูปในภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ ด้วย

2. การเสริมสร้างพลังให้แก่ประชาชนและให้ประชาชนมีส่วนร่วม
อาเซียนจะอาศัยไอซีทีที่ราคาไม่แพงและยุติธรรมเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีโดยทั่วหน้า

3. การสร้างนวัตกรรม
อาเซียนจะสนับสนุนอุตสาหกรรมไอซีทีที่สร้างสรรค์ มีนวัตกรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
อาเซียนจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีเพื่อสนับสนุนการให้บริการแก่ประชาคมอาเซียน

5. การพัฒนาทุนมนุษย์
อาเซียนจะพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีสมรรถนะและทักษะด้านไอซีที เพื่อสนับสนุนการเติบโตของภาคไอซีที และส่งผลต่อการปฎิรูปเศรษฐกิจในภาคอื่น ๆ ด้วย

6. การลดความเหลื่อมลํ้าในการเข้าถึงเทคโนโลยี
อาเซียนจะให้ความสำคัญเรื่องความแตกต่างของการพัฒนา และการใช้ไอซีที ทั้งในระดับประเทศ และระหว่างประเทศในภูมิภาค อาเซียนจะเน้นเรื่องการลดความเลื่อมล้ำในบริบทของความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ไอซีทีในวงกว้าง

หลักการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ทั้ง 6 ตามแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ดังกล่าวจะมีแนวทางปฏิบัติที่ค่อนข้างชัดเจน และเป็นรูปธรรม ที่แต่ละประเทศสามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดการสอดประสานและเกิดการบริหารแบบบูรณาการ (Integrated Management) เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้เป็นไปตาม Vision และ Mission ของอาเซียนต่อไป เช่น

การปฏิรูปทางเศรษฐกิจตามข้อ 1. จะมีมาตรการในการดำเนินการดังนี้

มาตรการที่ 1.1. สร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดึงดูดใจ ที่เอื้อให้ธุรกิจเติบโตได้ จากอิทธิพลของไอซีที

การปฏิรูปเศรษฐกิจ_มาตรการที่ 1.1

มาตรการ 1.2 พัฒนาความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน (Public-Private Partnership, PPP) สำหรับอุตสาหกรรมไอซีที
การปฏิรูปเศรษฐกิจ_มาตรการที่ 1.2

นอกจากนี้ยังมีอีก 5 ยุทธศาสตร์และมาตรการต่าง ๆ รวมทั้งแผนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์และมาตรการนั้น ๆ ที่ผมเรียนตั้งแต่ต้นแล้วว่า แผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ได้จัดทำไว้ชัดเจนที่สามารถนำไปปฏิบัติได้เป็นรูปธรรมในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับอาเซียน ระดับประเทศ และระดับธุรกิจของแต่ละประเทศ ซึ่งแน่นอนว่า ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ต้องมีการประชุมหารือกันในการขับเคลื่อนแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ให้เป็นรูปธรรม ซึ่งจะมีรายละเอียดต่อ ๆ ไปครับ

 

ความชัดเจนของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ที่น่าจะสัมพันธ์กับการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีของไทยบางมุมมอง ในอนาคต (ตอน2)

ครั้งที่แล้ว ผมได้เล่าเรื่องที่ ดร. มนู อรดีดลเชษฐ์ ได้แปลแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ไว้ย่อ ๆ และจบลงด้วยวิสัยทัศน์ของไอซีทีที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ เพื่อให้เกิดการรวมตัวทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจในอาเซียนนั้น

Vision ASEAN ICT Masterplan

ทั้งนี้ แผนภาพข้างต้นที่แสดงถึงวิสัยทัศน์นั้น อาจเป็นกรอบกว้าง ๆ ซึ่งในแต่ละประเทศสามารถประยุกต์ใช้ได้ในประเทศของตน ให้สัมพันธ์กับวิสัยทัศน์ของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 และแน่นอนว่าควรจะสัมพันธ์กับแผนไอซีทีของธุรกิจในประเทศนั้น ๆ ด้วยนะครับ

วิสัยทัศน์ของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ดังกล่าวมุ่งบรรลุผลดังต่อไปนี้

1. การเสริมสร้างพลัง

จัดให้ผู้มีส่วนได้เสีย มีทักษะ มีเทคโนโลยี สามารถเชื่อมต่อ และมีข้อมูลข่าวสาร ที่จะช่วยให้ใช้ไอซีทีได้อย่างเต็มที่

2. ทำให้เกิดการปฎิรูป

อาศัยไอซีทีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพวกเรา ทั้งในด้านความเป็นอยู่ การเรียนรู้ การทำงาน จนถึงด้านนันทนาการ

3. ทำได้อย่างทั่วถึง
เกี่ยวข้องกับผู้ที่มีส่วนได้เสียทั้งหมดในอาเซียน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาคม และภาคธุรกิจ ทั้งที่พัฒนาแล้ว และที่กำลังพัฒนา ทั้งที่อยู่ในเมือง และในชนบท ทั้งเยาวชน และผู้สูงอายุ รวมทั้งผู้ที่มีโอกาสและที่ด้อยโอกาส

4. สร้างความคึกคัก
สร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม เอื้อต่อการสร้างธุรกิจใหม่ และกระตุ่นให้ไอซีทีเบ่งบานและประสบความสำเร็จ

5. เกิดการรวมตัวกัน

ทำให้เกิดการเชื่อมต่อกันในอาเซียน ระหว่างประชาชน รัฐบาล และธุรกิจ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
วิสัยทัศน์นี้คาดว่าจะทำให้เกิดผลลัพธ์ 4 ประการ ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิธีที่อาเซียนจะใช้พัฒนาและปฎิรูปเศรษฐกิจและวัฒนธรรม

1. ไอซีทีเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเติบโตสำหรับอาเซียน
ไอซีทีจะเป็นหนึ่งในกลุ่มเศรษฐกิจหลักของอาเซียน อีกทั้งยังเป็นตัวขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดศักยภาพการแข่งขันแก่อุตสาหกรรมอื่น ๆ ด้วย

2. ยอมรับว่าอาเซียนเป็นศูนย์กลางไอซีทีระดับโลก

อาเซียนจะสร้างความโดดเด่นให้ตัวเอง ด้วยการเป็นภูมิภาคที่มีโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีที่มีคุณภาพสูง มีกำลังคนที่มีสมรรถนะสูง และมีความสามารถทางนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี

3. เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนในอาเซียน

การใช้ไอซีทีอย่างแพร่หลายจะช่วยให้ประชาชนของอาเซียนมีส่วนร่วม เข้าไปเกี่ยวข้อง และมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ทั้งหมดนี้ จะส่งผลต่อความเป็นอยู่ การประกอบการงาน และด้านนันทนาการ

4. มีผลต่อการรวมตัวในอาเซียน

ไอซีทีจะช่วยให้เกิดความร่วมมือกันมากมาย ระหว่างกลุ่มธุรกิจ และประชาชน จนนำไปสู่การรวมตัวของอาเซียน

The Process of investing ICT to create opportunities

ผมมีความเห็นส่วนตัวว่า ผลที่คาดว่าจะได้รับจากแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ตามที่กล่าวนั้น เป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่ประเทศในอาเซียนจะต้องช่วยกันจัดให้มีแผนงานที่ชัดเจน ทั้งในระดับอาเซียน และระดับประเทศ และระดับธุรกิจ ที่ควรจะสอดคล้องกับการขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง โดยมี 3 เสาหลักรองรับ ได้แก่

1. Economic Transformation
2. People Empowerment & Enggagement
3. Innovation

ซึ่งเรื่องนี้ในแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ได้กำหนด 6 ยุทธศาสตร์ ซึ่งผมจะนำมาเล่าต่อ โดยนำเรื่องที่ ดร. มนู อรดีดลเชษฐ์ ได้แปลไว้มาขยายความบางช่วงในตอนต่อ ๆ ไปนะครับ

 

ความชัดเจนของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ที่น่าจะสัมพันธ์กับการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีของไทยบางมุมมอง ในอนาคต

ผมได้อ่านแผนแม่บทไอซีทีของอาเซียน 2015 (ASEAN ICT Masterplan 2015) ที่แปลโดย ดร. มนู อรดีดลเชษฐ์ ซึ่งใน ASEAN ICT Masterplan 2015 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ และจุดประสงค์ที่ต้องการจะบรรลุผล ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนงานการขับเคลื่อนและเสริมสร้างพลังของเทคโนโลยีที่จะช่วยให้เกิดการปฏิรูป โดยอาศัยไอซีทีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพวกเรา ทั้งในด้านความเป็นอยู่ การเีรียนรู้ การทำงาน จนถึงด้านนันทนาการ

ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดในอาเซียน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาคม และภาคธุรกิจ ทั้งที่พัฒนาแล้ว และที่กำลังพัฒนา ทั้งที่อยู่ในเมือง และในชนบท ทั้งเยาวชนและผู้สูงอายุ รวมทั้งผู้ที่มีโอกาสและที่ด้อยโอกาส เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม เื้อื้อต่อการสร้างธุรกิจใหม่ และกระตุ้นให้ไอซีทีเบ่งบานและประสบความสำเร็จ รวมทั้งทำให้เกิดการเชื่อมต่อกันในอาเซียน ระหว่างประชาชน รัฐบาล และธุรกิจ

แผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015

ทั้งนี้ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ตามมาด้วยผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจากแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 4 ประการ ซึ่งพิจารณาได้ว่าเป็น Output – Outcome ที่ชัดเจนคือ

1. ไอซีทีเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเติบโตสำหรับอาเซียน
2. ยอมรับว่าอาเซียนเป็นศูนย์กลางไอซีทีระดับโลก
3. เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนในอาเซียน
4. มีผลต่อการรวมตัวในอาเซียน

ซึ่งผลลัพธ์ตามข้อสุดท้ายนี้ สรุปได้สั้น ๆ คือ ไอซีทีจะช่วยให้เกิดความร่วมมือกันมากมาย ระหว่างกลุ่มธุรกิจ และประชาชน จนนำไปสู่การรวมตัวของอาเซียน

ทั้งนี้ แผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 มีแรงขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์ 6 ยุทธศาสตร์ด้วยกัน และก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สรุปย่อ ๆ ดังนี้

1. การปฏิรูปทางเศรษฐกิจ
2. การเสริมสร้างพลังให้แก่ประชาชนและให้ประชาชนมีส่วนร่วม
3. การสร้างนวัตกรรม
4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
5. การพัฒนาทุนมนุษย์
6. การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี

สำหรับข้อที่ 6 นี้ อาเซียนจะให้ความสำคัญเรื่องความแตกต่างของการพัฒนา และการใช้ไอซีที ทั้งในระดับประเทศ และระหว่างประเทศในภูมิภาค อาเซียนจะเน้นเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำในบริบทของความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ไอซีทีในวงกว้าง

ทั้งนี้ยังมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องในการกำหนดแผนงานและมีการอธิบายไว้อย่างชัดเจน สามารถเข้าใจได้ง่าย นำไปปฏิบัติได้ ซึ่งน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ในอนาคตต่อไป

ซึ่งอย่างน้อยแผนแม่บทไอซีทีแห่งชาติ ฉบับที่ 3 นั้น ควรจะมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 และการปรับปรุงที่จะมีตามมา

ASEAN ICT Masterplan 2015

อนึ่ง ผมได้เล่าถึง Output – Outcome ที่จะได้รับตามวิสัยทัศน์ของแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ตามที่กล่าวข้างต้นนั้น แต่ยังไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดของวิสัยทัศน์ดังกล่าว ซึ่งวิสัยทัศน์ในแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน 2015 ที่ ดร. มนู ดรดีดลเชษฐ์ แปลได้ใจความดังนี้

ไอซีทีจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ เพื่อให้เกิดการรวมตัวทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจในอาเซียน ไอซีทีจะช่วยการปฏิรูปอาเซียนให้เป็นตลาดเดียว ด้วยวิธีพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานไอซีทียุคใหม่ และพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีฝีมือ ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม จัดให้มีนโยบาย ส่งเสริม และสร้างสภาพแวดล้อมที่มีกฎระเบียบ ด้วยมาตรการดังกล่าว อาเซียนจะเสริมสร้างพลังให้แก่ชุมชน และผลักดันให้อาเซียนมีสถานภาพเป็นศูนย์กลางไอซีที ที่ครอบคลุมได้อย่างทั่วถึง และคึกคัก ส่งผลให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่เหมาะกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

สำหรับรายละเอียดของ ASEAN ICT Masterplan 2015 ซึ่งได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2554 ที่แปลโดย ดร. มนู อรดีดลเชษฐ์ ที่เข้าใจได้ง่ายนั้น ผมจะลงนำเสนอในตอนต่อไปตามสมควร

 
https://www.amazon.com/Bikeroo-Oversized-Comfort-Comfortable-Replacement/dp/B07B646ZZY/