วิสัยทัศน์ของประเทศและขององค์กร กับ GRC เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

พฤษภาคม 21, 2011

วันนี้ผมจะนำเสนอในเรื่องที่ค้างคาใจของผมมานานแล้วก็คือ ผมอยากจะเห็น อยากได้อ่าน การกำหนดวิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นทิศทางที่จะกำหนดพันธกิจ นโยบายและกลยุทธ์ของประเทศ รวมทั้งการจัดทำแผนงาน / โครงการต่าง ๆ ที่จะมีความชัดเจนและใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น หากประเทศไทยเรากำหนดวิสัยทัศน์อย่างเหมาะสม

ตามความเห็นของผมจึงได้นำเสนอวิสัยทัศน์ที่น่าจะเป็นไปได้มากของประเทศไทยที่อาจจะเรียกว่าเป็นการฉลองครบรอบ 100 ปีของการบริหารประเทศแบบประชาธิปไตย คือเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 – 2575 โดยกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ที่น่าจะท้าทายพอสมควร และเป็นเข็มทิศของประเทศว่า “ภายใน ปี พ.ศ. 2575 ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว”

ท่านผู้อ่านคิดว่าน่าจะดีไหมครับ ท่านผู้อ่านเคยได้ยิน หรือเคยเห็นว่าประเทศไทยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ของประเทศไทยไว้ไหมครับ และเคยแปลกใจไหมว่า เราบริหารประเทศมากว่า 75 ปี ในแบบประชาธิปไตยนั้น ทิศทางที่เราต้องการจะเป็นหรือต้องการจะเห็นในอนาคตของประเทศไทยนั้นคืออะไร

นโยบายและแผนงานต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นมาโดยไร้ทิศทางที่กำหนดวิสัยทัศน์อย่างชัดเจนนั้น จะกำหนดแผนงานและโครงการอย่างไรให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกันทั่วทั้งประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน รวมทั้งความมั่นคงของประเทศ ถ้าหากขาดเป้าหมายที่ต้องการในอนาคต ในระดับชาติหรือองค์กร

ดังนั้นประเทศไทยจะนำแนวทางการบริหารประเทศแบบหลอมรวมและบรูณาการตามหลักการ GRC มาใช้ เพื่อให้เกิดการสอดประสานในนโยบาย รวมทั้งแผนงาน / โครงการต่าง ๆ ไม่ได้ดีเท่าที่ควร ถ้าหากขาดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน…

ท่านลองนึกดูนะครับว่า หากตัวท่านเองหรือองค์กรที่ท่านบริหารขาดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ท่านหรือองค์กรที่ท่านบริหารจะมีทิศทางในการบริหารความสำเร็จในชีวิตของท่าน องค์กรของท่าน หรือประเทศของเราอย่างไร…

จริงอยู่ตัวเราเอง องค์กร และประเทศของเรา ก็บริหารกันมาด้วยดีตามสมควรมาโดยตลอด แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และรวมพลังกันในการขับเคลื่อนให้วิสัยทัศน์นั้นเป็นจริง โดยการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ และแผนงาน / โครงการต่าง ๆ อย่างสอดประสานกันทั่วทั้งประเทศอย่างประเทศเพื่อนบ้านของเราหลายประเทศที่กำหนดวิสัยทัศน์อย่างชัดเจน เช่น ประเทศมาเลเซีย ที่กำหนดว่า “ภายใน ปี ค.ศ. 2020 ประเทศมาเลยเซียจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว” เป็นต้น

ดังนั้น ผมจึงขอนำเสนอเรื่องวิสัยทัศน์กับการบริหารประเทศแบบหลอมรวมและบรูณาการ / GRC ซึ่งอาจอธิบายประกอบกับภาพโดยย่อ ๆ ดังนี้นะครับ

ความหมายของ GRC ก็คือ G = Governance, R = Risk Management, C = Compliance
หากกล่าวเพียงแค่นี้ หลายท่านก็จะพูดว่า องค์กรของเรามี GRC แล้ว แต่แท้จริงแล้ว GRC มีความหมายมากกว่า G + R + C วิธีการง่าย ๆ ในการประเมินตนเองในเรื่องนี้ก็คือ หากองค์กรของท่านมีนโยบายเรื่อง G R C แยกต่างหากจากกัน และมีสายงานที่รับผิดชอบในเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะ องค์กรของท่านถือว่ายังไม่มีการบริหารในแบบ GRC ที่แท้จริง เพราะการบริหารแบบ GRC เป็นการบริหารแบบหลอมรวมและบูรณาการ G + R + C เป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น ผมขออธิบายตามรูปภาพย่อ ๆ ดังนี้ จากภาพเลข 6 เป็นการบริหารแบบ GRC ที่สมบูรณ์ ส่วนภาพเลข 5 เป็นการบริหารแบบ GRC ในลักษณะหนึ่งที่ยังต้องการความหลอมรวมไปสู่ GRC ภาพเลข 6 ซึ่งต้องใช้ IT – Based เป็นตัวเชื่อมในลักษณะ Technology Convergence

GRC กับวิสัยทัศน์ของประเทศและองค์กร

ท่านผู้อ่านคงอาจจะสังเกตได้นะครับว่า เว็บนี้เริ่มนำเสนอความคิดที่เกี่ยวข้องกับ วิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่น่าจะเป็น และท้าทายก็คือ “ภายใน ปี พ.ศ. 2575 ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว” นั่นคือ การบริหารประเทศหรือการบริหารองค์กร จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกำหนดทิศทางของประเทศและองค์กรในอนาคตที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดพันธกิจ นโยบาย กลยุทธ์ รวมทั้งแผนงาน / โครงการที่จะดำเนินการภายใต้กลยุทธ์และนโยบายตามพันธกิจ สู่วิสัยทัศน์อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะก่อให้เกิดการบริหารแบบสอดประสานและบูรณาการของแผนงาน และโครงการต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการบริหารทรัพยากรของประเทศและองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม และจะก่อให้เกิดการบูรณาการ Integrated Management ในระดับต่าง ๆ เพื่อก้าวไปสู่ Integrity – Driven Performance ที่เป็นแนวทางการบริหารแบบหลอมรวม และบูรณาการที่เรียกว่า GRC อย่างแท้จริง

ความหมายของคำว่า Integrity – Driven Performance ที่น่าจะเข้าใจได้ง่าย ก็คือ การขับเคลื่อนการบริหาร และการจัดการขององค์กรไปสู่ความสมบูรณ์แบบ / Integrity โดยใช้ IT – Based ไปขับเคลื่อนกระบวนการปฏิบัติงาน ตั้งแต่ระดับบนไปสู่ระดับปฏิบัติการ อย่างเป็นระบบ และมีระเบียบ เป็นขั้นตอน เพื่อให้แน่ใจอย่างสมเหตุสมผลว่า องค์กรมีการบริหารในลักษณะบูรณาการ / Integrated ในทุกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับ Governance (CG + ITG +++), Risk Management (IT และ Non – IT ซึ่งประกอบด้วย CobiT / ITIL + COSO – ERM) และ Compliance (การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ คำสั่ง ระเบียบ การปฏิบัติตามสัญญา +++ รวมทั้งการปฏิบัติตามมาตรฐาน / Good Practice / Lesson – Learned ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง) โดยมีการติดตามการบริหาร (Monitoring) และการตรวจสอบภายในตามฐานความเสี่ยง (RBIA – Risk Based Internal Audit Approach) อย่างเป็นระบบที่เน้นไปในลักษณะของ Continuous Monitoring / Auditing และการรายงาน รวมทั้ง การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพในระดับต่าง ๆ +++

ทั้งนี้ หลักการของ GRC จะสมบูรณ์ไม่ได้เลยหากประเทศหรือองค์กร ขาดหลักการและแนวทาง การมี การใช้ อย่างเป็นรูปธรรมของจรรยาบรรณ และจริยธรรม (Ethics) และการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับหลักการของ Governance เช่น ความโปร่งใสที่ตรวจสอบได้ (Transparency) ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ (Responsibility) ความรับผิดชอบในผลของการปฏิบัติงาน (Accountability) การปฏิบัติโดยเท่าเทียมกัน (Equitable Treatment) การมีวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน (Creation of Long Term Value – Sustainable Growth) การดูแลสังคมและสภาพแวดล้อมที่ดี (Social and Environmental Awareness) และการส่งเสริมการปฏิบัติอันเป็นเลิศและการมีจรรยาบรรณาที่ดีในการประกอบธุรกิจ (Promotion of Best Practices)

An Integrated Approach To GRC

ทั้งนี้ การบริหารในแบบ GRC นี้จะต้องคำนึงถึง ผู้มีผลประโยชน์ร่วม และสังคม (Stakeholders) มากกว่าผู้ถือหุ้น (Shareholders) ที่ผู้บริหารประเทศและคณะกรรมการระดับสูงขององค์กรต้องเป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์ และนโยบายที่ชัดเจน ในลักษณะ Tone at the top ด้วยจิตวิญญาณของความรับผิดชอบต่อประเทศ / องค์กร เพื่อก้าวไปสู่พันธกิจและวิสัยทัศน์ที่กำหนดอย่างมุ่งมั่น และทุ่มเท

อย่างไรก็ดี การที่ประเทศหรือองค์กรจะบริหารได้ดีมีประสิทธิภาพในลักษณะการบริหารแบบบูรณาการและการหลอมรวมกระบวนการจัดการต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียว ที่มิใช่นำเพียง G + R + C มารวมกันเท่านั้น เป็นเรื่องท้าทายยิ่ง เพราะการประสานงานและกระบวนการจัดการต่าง ๆ ที่หลอมรวมแบบบูรณาการเป็นหนึ่งเดียวกันนั้น จะเกิดไม่ได้เลย ถ้าประเทศหรือองค์กร ไม่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน หรือไม่กำหนดวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการประเทศ หรือองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม เพราะพันธกิจ นโยบาย และแผนงาน/โครงการต่าง ๆ ที่ตามมาจะขาดทิศทางที่ชัดเจน ที่จะก่อให้เกิดการบริหารแบบบูรณาการ (Integrated Management) เพื่อก้าวไปสู่การบริหารแบบหลอมรวมและบูรณาการ ตามแบบฉบับของ GRC ที่แท้จริงนะครับ