Digital Economy in Thailand – เศรษฐกิจดิจิตอล (ตอนที่ 9)

สิงหาคม 4, 2015

กลยุทธ์ของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลสำคัญกว่าดิจิตอลเป็นอย่างมาก

ในตอนที่ 8 ผมได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) ในภาพรวม โดยการตั้งคำถามเบื้องต้นในภาพระดับบนอย่างกว้าง ๆ เพียงเพื่อให้ข้อสังเกตและข้อคิด รวมทั้งมุมมองที่เกี่ยวกับหลักการ นโยบาย กรอบและขอบเขตของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลว่า เราควรคำนึงถึงปัจจัยผลักดันของผู้มีส่วนได้เสีย ที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมของการกำกับและกระบวนการบริหาร รวมทั้งวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่จะมีผลต่อนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งก็ได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่ตอนที่ 1 – 8 ในบางมุมมองที่ผมเข้าใจ ซึ่งแน่นอนว่าอาจจะมีหลายมุมมองหรือหลายมิติที่ผมอาจจะมองข้ามไป และไม่ได้กล่าวถึงมากนัก อย่างไรก็ดี ตามความเห็นของผม หน่วยงานภาครัฐที่ดำเนินการพัฒนาหมวดหมู่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา Digital Economy  ที่ผ่านมาก็ได้มีการพัฒนาองค์ประกอบและปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่จำเป็นในการขับเคลื่อน Digital Economy ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเข้มแข็งอยู่แล้ว

อย่างไรก็ดี ในมุมมองของผู้ตรวจสอบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และมุมมองของการตรวจสอบการกำกับ และการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งการควบคุมที่สนองตอบความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียในการสร้างคุณค่าเพิ่ม ให้เป็นไปตามหลักการของการกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือ Governance ยุคใหม่ที่มีความหมายและคำจำกัดความแตกต่างจากหลักการของ Governance ในอดีตเป็นอย่างมาก ถึงแม้จะมีวัตถุประสงค์หลักในเรื่องของ Governance ที่ใกล้เคียงกันคือ การสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับผู้มีส่วนได้เสีย ที่มีองค์ประกอบหลัก ๆ ของ Governance ก็คือ การสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล หรือ Digital Economy ประเทศจะได้รับผลประโยชน์ หรือได้ดุลยภาพกับการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม และการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่มีรายละเอียดค่อนข้างมากที่ผู้กำกับและบริหารเศรษฐกิจดิจิตอลตามนโยบายไม่ควรเน้นเรื่องรูปแบบมากกว่าสาระ ที่ต้องพิสูจน์ได้ว่า หน่วยงานกำกับมีหลักการในการก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิตอลที่ชัดเจนและสอดคล้องกับกรอบการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด ซึ่งในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน ก.ค. 2558 ผมได้ยินท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้พูดในการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า ในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลนั้น ควรจะมีการสื่อสารและสร้างความเข้าใจที่ตรงกันของความหมายคำว่า Digital Economy ซึ่งแน่นอนว่า ท่านคงหมายความไปถึง กระบวนการในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอลให้เป็นรูปธรรม ที่เห็นภาพ ๆ เดียวกัน ให้คำจำกัดความที่ตรงกัน มีทิศทางในการพัฒนาที่ชัดเจน มีการกำหนดกรอบ ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากเศรษฐกิจดิจิตอลในมิติและบริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในแบบบูรณาการ ตามหลักการของการกำกับดูแลกิจการที่ดียุคใหม่ ที่บทความนี้ได้ย้ำในหลายเรื่องตามที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น ๆ

การถ่ายทอดวิสัยทัศน์จาก Digital Economy มาสู่กลยุทธ์ หรือยุทธศาสตร์ หรือวิธีการที่นำไปสู่ความสำเร็จ

เศรษฐกิจดิจิตอลในตอนที่ 9 นี้ ผมจึงใคร่เน้นไปยังเรื่องกลยุทธ์ของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล เพราะจากวิสัยทัศน์ การพัฒนาประเทศในทุกมิติและในทุกบริบทต่อจากนี้เป็นต้นไป จะเกี่ยวข้องกับดิจิตอลหรือข้อมูล สารสนเทศ ข่าวสารที่มาจากการประมวลข้อมูลหรือการรวบรวมข้อมูลจากการประมวลผลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศที่มาจากเทคโนโลยีดิจิตอล และกระบวนการกำกับและการบริหารที่ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับจะต้องเข้าใจถึงความเสี่ยง ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการมี การใช้ ข้อมูลที่ถูกต้อง มีคุณภาพ มีมาตรฐานในการบริหารงานและการจัดการ ให้เป็นไปตามกรอบการดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจดิจิตอล หรือทางธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องสำหรับการกำกับดูแลและการบริหารจัดการไอทีระดับประเทศและระดับองค์กร โดยมีการปฏิบัติงานที่ข้ามสายงาน ข้าวหน่วยงาน ข้ามประเทศ ซึ่งจะไม่มีพรมแดนกีดขวางต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ

การที่ภาครัฐในฐานะผู้กำกับและผู้ผลักดันสำคัญในโครงการเศรษฐกิจดิจิตอล จึงเห็นควรประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์ Digital Economy – DE ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันว่ามีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย มีมาตรฐาน และกรอบการดำเนินงานที่สัมพันธ์กับเป้าหมายระดับประเทศตามนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล ที่มีการถ่ายทอดไปยังเป้าหมายเกี่ยวกับไอที และกระบวนการทางไอทีที่แน่นอนว่า จะต้องถ่ายทอดไปยังปัจจัยเอื้อต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความสำเร็จ ตามโครงการและนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลที่ควรกำหนดเป็นกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน และควรกำหนดบทบาท กิจกรรม และความสัมพันธ์ของการกำกับดูแล ซึ่งควรระบุว่าใครหรือหน่วยงานใดมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลและกระบวนการมีส่วนร่วมนั้น มีส่วนร่วมอย่างไร และมีบุคคลใด หรือใคร ควรทำอะไร และควรมีการปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร ในทุกระดับของกระบวนการกำกับดูแลกิจการที่ดี ภายใต้กรอบและขอบเขตของระบบงานทางด้าน Digital Economy สำหรับการกำกับดูแลและการบริหารจัดการไอที

ตามวรรคสุดท้ายที่ผมได้กล่าวนั้น หากท่านผู้อ่านได้มีโอกาสดูภาพที่ผมได้นำเสนอไปในตอนต้น ๆ จะอธิบายได้ชัดเจนถึงบทบาทหน้าที่ กิจกรรม และความสัมพันธ์ของผู้มีส่วนได้เสียหลัก ซึ่งในที่นี้ก็คือได้แก่ รัฐบาลที่จะมอบหมายงานให้หน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ที่อาจจะมีหลายหน่วยงานที่จะต้องทำงานผสมผสานกันในแบบบูรณาการ เพื่อกำหนดทิศทางให้ผู้บริหารแต่ละหน่วยงานของผู้กำกับภาครัฐ  และ/หรือภาคเอกชน  สั่งการและวางแนวทาง เพื่อการดำเนินงานและปฏิบัติตามนโยบาย กลยุทธ์ คำสั่ง ระเบียบวิธีการปฏิบัติ มาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อรายงานกลับไปยังผู้บริหารที่จะต้องเฝ้าติดตามผลการดำเนินงาน ในแต่ละคาบเวลาที่กำหนด และส่ง/หรือรายงานไปยังหน่วยงานกำกับดูแลที่รับผิดชอบในผลงาน ตามโครงการและแผนงานที่เกี่ยวข้องกันอย่างเป็นระบบ มีระเบียบ และมีแบบแผน ซึ่งตอนนี้ ผมเข้าใจว่า หลักการบริหารโครงการ Digital Economy และแผนงานต่าง ๆ ที่แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะมีการทบทวน ประเมินผล สั่งการ เฝ้าติดตาม เพื่อให้แผนงานและโครงการต่าง ๆ เป็นไปตามเป้าหมายและเวลาที่กำหนด และรายงานผลต่อไปยังรัฐบาล ซึ่งพิจารณาได้ว่า เป็นเจ้าของโครงการและเป็นผู้มีส่วนได้เสียหลัก ที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลโครงการและนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่ต้องการในคาบเวลาที่เหมาะสม

หากขาดกลยุทธ์ที่เหมาะสม และขาดการกำกับดูแลที่ดีที่มีมาตรฐาน มีหลักการ มีนโยบาย และกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจนที่สัมพันธ์กับการกำหนดกลยุทธ์ที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลก็น่าจะมีความเสี่ยงที่ประเทศหรือรัฐบาลไม่อาจยอมรับได้ ถึงตอนนี้ ผมเข้าใจว่า การกำหนดระดับความเสี่ยงหรือผลสัมฤทธิ์ที่ไม่ได้ผลตามเป้าหมาย เช่น ขาดการควบคุม การตรวจสอบ การกำกับ การจัดการแบบบูรณาการ และขาดการติดตามอย่างแท้จริง ซึ่งพิสูจน์ได้จากการที่ผู้กำกับดูแล ไม่ได้มีการพิจารณาระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ต่อการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามโครงการนี้ในแต่ละกระบวนการที่ชัดเจน และอื่น ๆ ตามที่ได้กล่าวข้างต้น

e0b8a7e0b8b1e0b895e0b896e0b8b8e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8aae0b887e0b884e0b98ce0b981e0b8a5e0b8b0e0b8a7e0b8b4e0b898e0b8b5e0b881e0b8b2e0b8a3คำถามเพื่อประเมินประสิทธิภาพของกลยุทธ์ในการเข้าสู่ Digital Economy บางมุมมอง

ดังนั้น ผมจึงมีคำถามชวนคิด ชวนตรอง ในเรื่องการประเมินประสิทธิภาพของกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอลในบางมุมมองต่อไปนี้

กลยุทธ์ด้านการกำกับดูแล DE

  • ทางรัฐ หรือผู้กำกับฯ มีกลยุทธ์ทางด้านหลักการ และกรอบการดำเนินงานที่เป็นบูรณาการหนึ่งเดียว ในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลอย่างไร
  • ได้กำหนดกลยุทธ์ที่ประเมินถึงความเหมาะสมทางด้านสภาพแวดล้อม วิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสำเร็จของโครงการ Digital Economy ที่ปัจจุบันพิจารณาได้ว่าเป็นจุดอ่อนปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ที่ต้องมีการปรับปรุงควบคู่กันไปหรือก่อนการกำหนดกรอบและโครงสร้างของงานที่ชัดเจน เช่น ศักยภาพและความสามารถของบุคลากร วัฒนธรรม จริยธรรม และพฤติกรรม ทักษะ โครงสร้างการจัดการ การสื่อสาร การทำงานร่วมกันข้ามสายงานและหน่วยงานที่เกี่ยวกับการกำกับและการจัดการ ที่อาจมีช่องว่างที่อาจปรับปรุงได้ด้วยกลยุทธ์อยู่พอสมควร
  • ทางรัฐ มีความชัดเจนและระบุความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละกลุ่ม ที่มีน้ำหนักและความสำคัญแตกต่างกันอย่างไร
  • มีกลยุทธ์อย่างไรทางด้านการกำกับดูแล (Governance) ที่มั่นใจได้อย่างสมเหตุสมผลว่า สนองตอบความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียที่อธิบายได้ ตามหลักการ Governance ยุคใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบหลักที่สนองตอบต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย เช่น กลยุทธ์ในการกำหนดการได้รับผลประโยชน์ กลยุทธ์การกำหนดการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม ที่สัมพันธ์และได้ดุลยภาพกับการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการกำกับดูแลที่ดี (Governance)
  • กลยุทธ์ในการก้าวสู่ Digital Economy  มีขั้นตอนการส่งทอดเป้าหมายระดับประเทศ และโครงการ Digital Economy ในมิติต่าง ๆ ตามแนวทางของการบริหารแบบสมดุล สนองตอบความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียที่สามารถอธิบายได้ชัดเจน
  • มีกลยุทธ์ใดที่กำหนดเป้าหมายหรือผลสัมฤทธิ์ ระดับประเทศตามโครงการหรือนโยบาย DE ที่เชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ในการกำกับดูแล (การได้รับผลประโยชน์ ตามโครงการ DE ที่ได้ดุลยภาพการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมในการใช้ทรัพยากรที่ให้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งได้แก่ การบริหารสารสนเทศ การบริหารโครงสร้างพื้้นฐานและระบบงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริหารบุคคลากร ทักษะ และศักยภาพแบบบูรณาการ) ในมุมมองของมิติการวัดผลแบบสมดุล
  • มีกลยุทธ์ใดที่ให้ความมั่นใจได้ว่า เป้าหมายระดับประเทศทางด้าน DE ในทุกมิติของการบริหารแบบสมดุล ได้ส่งทอดไปยังเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับไอที ซึ่งอาจสรุปได้ว่า มีกลยุทธ์ทางด้านไอทีที่สอดคล้องไปในทางเดียวกันกับกลยุทธ์ทางด้าน DE หรือธุรกิจที่เกี่ยวกับ DE หรือกลับกัน และการบรรลุเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับไอทีนั้น มีกลยุทธ์ใดที่กำหนดวิธีการ หรือกระบวนการที่ให้เกิดความคล่องตัวทางด้านไอที ที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายทางด้านกลยุทธ์ระดับประเทศทางด้าน DE และมีการกำหนดกรอบกลยุทธ์ใดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงทางด้าน DE และกระบวนการจัดการที่เหมาะสม และมีการปฏิบัติงานของบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ
  • มีกลยุทธ์ใดที่กำหนดเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านไอที ที่เกี่ยวข้องกับมิติการวัดผลแบบสมดุลทางด้านไอที เช่น การพร้อมใช้ของสารสนเทศที่น่าเชื่อถือได้ และมีประโยชน์ในการตัดสินใจ มีไอทีที่ปฏิบัติตามนโยบายของเศรษฐกิจดิจิตอล และมีกลยุทธ์ใดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรและการเรียนรู้ ทั้งทางด้านไอทีและการบรรลุผลเป้าหมายทางด้านธุรกิจ DE รวมทั้งกลยุทธ์ใดในการพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญในการริเริ่มงานเพื่อนวัตกรรมทางด้าน DE – Digital Economy
  • มีกลยุทธ์ใดหรือไม่ ที่อธิบายถึงวิธีการบรรลุเป้าหมายทางด้านไอที ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญยิ่งยวดต่อนโยบายและโครงการ Digital Economy นั่นคือ มีการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับไอที กับกระบวนการปฏิบัติงานต่าง ๆ ในแต่ละหมวดของการกำกับดูแลไอทีที่เกี่ยวกับ Digital Economy หรือการกำกับดูแลการบริหารจัดการไอทีระดับประเทศ เรื่องนี้สำคัญมากนะครับ เพราะการกำหนดเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับไอที จะต้องมีความชัดเจน และต้องมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายของ DE ในระดับประเทศที่ชัดเจนด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ กลยุทธ์ดังกล่าวจะต้องเชื่อมโยงไปยังกระบวนการทางด้านการกำกับ ซึ่งได้แก่ การประเมินผล การสั่งการ และการเฝ้าติดตามในหน่วยงานกำกับในระดับประเทศ ซึ่งน่าจะได้แก่ รัฐมนตรีในกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และหากเป็นหน่วยงานก็จะได้แก่ การกำกับโดยคณะกรรมการของหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งผู้กำกับควรจะต้องติดตามผลการดำเนินงานของผู้บริหาร ในหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร เช่น การบริหารจัดการ กรอบการบริหารการดำเนินงานทางด้านไอทีให้สัมพันธ์กับเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับไอทีและธุรกิจ
  • ภาพนิ่ง1

กลยุทธ์ด้านการบริหาร

  • มีกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับไอทีในมิติของกระบวนการที่ผู้บริหารต้องรับผิดชอบ ในหมวดหมู่หลัก ๆ ได้แก่

การจัดวางแนวทาง การจัดทำแผนและจัดระบบ ตัวอย่างบางส่วนได้แก่ การบริหารจัดการกลยุทธ์ การบริหารสถาปัตยกรรมทางด้าน DE การบริหารจัดการนวัตกรรม การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล การบริหารจัดการคุณภาพ การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย เป็นต้น

การจัดสร้าง จัดหาและการนำไปใช้ ตัวอย่างกลยุทธ์ในข้อนี้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบริหาร (Process) บางเรื่องได้แก่ การบริหารจัดการโครงการและชุดโครงการ DE การบริหารจัดการข้อกำหนดที่ต้องการ การบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการบริหารไอทีและDE ให้สัมฤทธิ์ผล การบริหารจัดการความรู้และสินทรัพย์ การบริหารองค์ประกอบของระบบงาน เป็นต้น

การส่งมอบ บริการ และสนับสนุน ตัวอย่างกลยุทธ์ด้านนี้ก็คือ การกำหนดระบบบริหารจัดการการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการคำร้องขอบริการในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การบริหารจัดการปัญหา การบริหารจัดการดำเนินธุรกิจที่ต่อเนื่อง การบริหารและบริการทางด้านความมั่นคงปลอดภัย การบริหารจัดการควบคุมกระบวนการทางด้านเป้าประสงค์ของ DE และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

การเฝ้าติดตาม วัดผล และการประเมิน ตัวอย่างในเรื่องนี้ได้แก่ วิธีการประเมินประสิทธิภาพ และความสอดคล้องในการดำเนินงานทางด้านไอที และที่เกี่ยวข้องกับ DE และเรื่องอื่น ๆ รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้อง การเฝ้าติดตาม วัดผล ประเมินผลระบบการควบคุมภายใน การประเมิน การติดตามวัดผลการปฏิบัติตามข้อกำหนดจากหน่วยงานภายนอก เป็นต้น

  • มีกลยุทธ์ที่เชื่อมโยงเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับไอทีที่ส่งทอดไปยังเป้าหมายของปัจจัยเอื้อที่ก่อให้เกิดความสำเร็จ ทั้งนี้ มีแนวทางทางด้านกลยุทธ์ที่เกี่ยวกับปัจจัยเอื้อตามโครงการ DE ก็คือ

– หลักการ นโยบาย และกรอบการดำเนินงาน

– กระบวนการ

– โครงสร้างการจัดองค์กร

– วัฒนธรรม จริยธรรม และพฤติกรรม

– สารสนเทศ

– บริการ โครงสร้างพื้นฐาน และระบบงาน

– บุคลากร ทักษะ และศักยภาพ

เศรษฐกิจดิจิตอลในตอนที่  9 ที่ผมได้พูดถึงเรื่องกลยุทธ์ของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลตอนนี้ ผมมีความเห็นว่า เป็นตอนที่มีความสำคัญยิ่งยวดที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จของโครงการและนโยบายทางด้าน DE เพราะกลยุทธ์เป็นวิธีการนำไปสู่ความสำเร็จตามนโยบายและเป้าหมายทางด้าน DE ดังนั้น โครงการและนโยบายทางด้าน DE อาจเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคดิจิตอล ซึ่งอาจอธิบายต่อไปได้ว่า พันธกิจ – วิสัยทัศน์ – นโยบาย เป็นรูปแบบในการก้าวสู่ความฝันที่จะไปถึงตามเป้าประสงค์ที่ดีทางด้านเศรษฐกิจยุคดิจิตอล แต่หากประเทศหรือองค์กรกำหนดกลยุทธ์ทางด้านเศรษฐกิจดิจิตอลไม่เหมาะสม ทั้งในมุมมองการกำกับดูแล (Governance – Value Creation) และในมุมมองการบริหาร (Management) ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจะไม่สามารถทำให้โครงการและแผนงานต่าง ๆ ตามนโยบาย DE บรรลุความสำเร็จอย่างมีคุณภาพได้

หากท่านเป็นผู้ตรวจสอบ หรือเป็นหน่วยงานที่ได้รับการตรวจสอบ ท่านลองทำการประเมินตนเองเพื่อการควบคุมความเสี่ยงในแบบ CSA – Control Self Assessment ซึ่งอาจทำได้หลายรูปแบบตามที่ผมได้เขียนไว้ใน http://www.itgthailand.com ในหมวดอื่น ๆ แล้วนั้น ก็จะทำให้เกิดข้อคิด ชวนตรอง ในการกำกับดูแลและการบริหารโครงการ Digital Economy ได้ตามสมควรนะครับ